มา ๆๆๆ เรามาคุยกันเพื่อนๆทั้งหลาย

คุยกับเพื่อนทั่วๆไป

คุยกับเืพื่นที่เรียนด้วยกันวันอาทิตย์


Get kikrakdeaw chat group | Goto kikrakdeaw website

Get your own Chat Box! Go Large!

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เรื่องราวการลอยกระทง



วันลอยกระทง (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12) (Loi Krathong Festival)





ประวัติการลอยกระทง


     ลอยกระทง หมายถึง ประเพณีบูชารอยพระพุทธบาท แสดงความ สำนึกบุญคุณของแหล่งน้ำอันมี


ความสำคัญต่อการดำรงชีวิ ตและเป็นการ การบูชาพระแม่คงคาเทวีตามความเชื่อแต่โบราณด้วยกระทง 


ดอกไม้ธูป เทียน ประกอบกับสิ่งประดิษฐ์จากธรรมชาติที่ลอยน้ำได้ วันลอยกระทงตรงกับวันขึ้น 15 คำ 


เดือน 12 ประเพณีลอยกระทงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยประมาณ 700 ปีมาแล้ว ประเพณีลอยกระทงได้เข้า


สู่ประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. 1800 ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศ

 ผู้เป็นพระสนมเอกของพระร่วงเจ้าว่า "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้


งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่างๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับ


แสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..." เมื่อสมเด็จ


พระร่วงเจ้าได้เสด็จฯทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงมีพระ


ราชโองการฯให้จัดพิธีลอยกระทงเป็นประจำทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองพระราชพิธีนี้จึงได้ถือปฏิบัติ


เป็นประจำจนกระทั่งบัดนี้ 


     การลอยกระทงเป็นนักขัตฤกษ์รื่นเริงของคนทั่วไป เมื่อเป็นพิธีหลวง เรียกว่า " พระราชพิธีจองเปรียง 


ลดชุดลอยโคมส่งน้ำ" ต่อมาเรียก "ลอยพระประทีป" พิธีนี้มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยดัง ปรากฏหลักฐานอยู่


ใน หนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้กล่าวว่า นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกใน


พระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์กระทงสำหรับลอยประทีปเป็นรูปดอกบัวบานขึ้น และได้


กระทำต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาตลอดจนถึงสมัยกร ุงรัตนโกสินทร์ พิธีลอยกระทงเดิมทำกันในวันเพ็ญ


เดือน11 และวันเพ็ญเดือน12 ปัจจุบันพิธีลอยกระทงเฉพาะวันเพ็ญเดือน12 พิธีลอยกระทง สันนิษฐานว่า


ได้มาจากอินเดีย ตามลักธิพราหมณ์เชื่อว่า ลอยกระทงเพื่อบูชาแม่น้ำคงคง อันศักค์สิทธิ์ของอินเดีย 


และลอยเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้า คือ พระนารายณ์ ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่กลางเกษียรสมุทร 

     อีกประการหนึ่ง ศาสนาพุทธเชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการทำพิธีเพื่อต้อน รับพระพุทธเจ้าในวันเสด็จ


จากเทวโลกสู่โลกมนุษย์ ภายหลังจากทรงเทศนาโปรด พุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บ้างก็เชื่อว่า


เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ที่บรรจุไว้ในพระจุฬามณี พระเจดีย์บนสวรรค์ บางก็ว่าเพื่อบูชารอย


พระพุทธบาทที่ทรงประทับไว้ ณ หาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำนัมมหานทีในแคว้นทักขิณาบถ ของประเทศ


อินเดีย (ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุททา) บางท่านก็ว่า ลอยกระทงเพื่อขอบคุณพระแม่คงคาที่ให้เราได้


อาศัยน้ำก ินน้ำใช้ และขออภัยพระแม่คงคา ที่ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงในน้ำ เมื่อถึงวันเพ็ญ เดือน 12 


ประชาชนจะจัดทำกระทงเป็นรูปต่าง ๆด้วยใบตอง หรือกาบใบต้นพลับพลึง หรือวัสดุอื่น ๆ ประดับตกแต่ง


กระทงให้สวยงามด้วยดอกไม้สดในกระทงจะปักธูปเทียน บางทีก็ใส่สตางค์ หรือหมากพลูลงไปด้วยสมัย


ก่อนในพิธีลอยกระทงมีการเล่น สักวาเล่นเพลงเรือและมีแสดง มหรสพประกอบงานมีการประกวด นาง


นพมาศ ประกวด กระทงและร่วมกันลอยกระทง โดยจุดธูปเทียน กล่าวอธิษฐานตามที่ใจปรารถนาและ


ปล่อยกระทงให้ลอยไปตามน้ำ 

                    การ ลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือ


ลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์


สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือ


ลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็น


แม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท อันที่จริงลอย


กระทงเป็นประเพณีขอขมาธรรมชาติมาแต่ดึกดำบรรพ์ เพราะชาวบ้านทั่วไปรู้จากประสบการณ์ว่า ถึง


เดือนสิบเอ็ด (หรือราวเดือนตุลาคม) น้ำจะขึ้นนองหลาก,พอถึงเดือนสิบสอง (หรือราวเดือนพฤศจิกายน) 


น้ำจะทรงตัวคือไม่ขึ้นไม่ลง,ครั้นเดือนอ้าย (หรือราวเดือนธันวาคม) ต่อเดือนยี่ (หรือราวเดือนมกราคม) 


น้ำจะลดลง

คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป

มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมะทายะ


นะทิยา ปุเลเนฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ

อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ ปูชา


อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังฆวัตตะตุ


กิจกรรมวันลอยกระทง


นำกระทงไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง หรือตามแหล่งน้ำที่มีการจัดพิธี


ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ในวันลอยกระทง เช่น การประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ การละเล่น

พื้นเมือง  เช่น รำวงเพลงเรือ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทย


จัดนิทรรศการ หรือพิธีลอยกระทง เพื่อเผยแพร่และอนุรักษ์ประเพณีไทย


จัดรณรงค์ให้มีการใช้วัสดุจากธรรมชาติมาทำกระทง เพื่อไม่ให้เกิดมลภาวะแก่แม่น้ำลำคลอง

เหตุผลในการลอยกระทง

เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทและบูชาเทพเจ้า ตามคติความเชื่อ


เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้ มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา


เพื่อรู้ถึงคุณค่าของน้ำหรือแม่น้ำลำคลอง อันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต


การลอยกระทงในปัจจุบัน


                    การ ลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญ


พระจันทร์เต็มดวงในเดือน 1 2 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวก


กล้วย และดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้ เครื่องสักการบูชา ก่อน


ทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวังพร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคา ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัด


งานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจาก


นั้นยังมีการจุดดอกไม้ ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้ทำกระทง 


ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ

การลอยกระทงของชาวเหนือและอีสาน

การลอยกระทงของชาวเหนือ (ยี่เป็ง)


การลอยกระทงของชาวเหนือ นิยมทำกันในเดือนยี่เป็ง (คือเดือนยี่หรือเดือนสอง เพราะนับวันเร็วกว่า

ของเรา 2 เดือน) เพื่อบูชาพระอุปคุตต์ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเล ลึกหรือ


สะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า




การลอยกระทงในภาคอีสาน เรียกว่าเทศกาลไหลเรือไฟ


จัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ในจังหวัดนครพนม โดยการนำหยวกกล้วยหรือวัสดุต่าง ๆ มาตกแต่งเป็นรูป


พญานาคและรูปอื่น ๆ ตอนกลางคืนจุดไฟปล่อยให้ไหลไปตามลำน้ำโขงดูสวยงามตระการตา




เล่ากันว่า นางนพมาศ เป็นต้นกำเนิดประเพณีลอยกระทงที่เราปฏิบัติสืบต่อกันมา แต่ดูเหมือนว่าข้อ

เท็จจริงทางวิชาการไม่ได้ยืนยันเรื่องนี้ ..


   นางนพมาศมีตัวจริงหรือไม่มี ก็หาคนยืนยันไม่ได้เสียแล้ว ในจารึกก็ไม่ได้ใส่ไว้ แต่มีหนังสืออยู่เล่ม


หนึ่ง ที่เล่าเรื่องนางนพมาศ เป็นที่อ้างอิงกันทั่วไป นั่นก็คือ หนังสือเรื่อง นางนพมาศ หรือเรียกอีกชื่อว่า 


ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์  โดยทั่วไปแล้ว เชื่อกันว่าเป็นเรื่องที่แต่งมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่เพิ่งได้ตีพิมพ์


เป็นเล่มเมื่อ พ.ศ. 2457 

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงไว้เมื่อตีพิมพ์ครั้งแรก มาให้อ่าน สั้นๆ ไม่


กี่หน้า แต่มีคุณค่ามาก อย่าพลิกข้ามไปเป็นอันขาด

   ท่านกล่าวว่า ในเรื่องโวหารนั้น หนังสือเล่มนี้สังเกตได้ ว่าแต่งในราวรัชกาลที่ 2 ? รัชกาลที่ 3 เพราะถ้า


เทียบสำนวนกับหนังสือรุ่นสุโขทัย อย่างไตรภูมิพระร่วง หรือหนังสือรุ่นอยุธยา ก็เห็นชัด ว่าหนังสือนาง


นพมาศใหม่กว่าแน่ๆ และยังมีที่จับผิดในส่วนของเนื้อหา ที่กล่าวถึงชาติฝรั่งต่างๆ โดยเฉพาะอเมริกัน ซึ่ง


เพิ่งเกิดแท้ๆ

   สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ได้กราบทูลรัชกาลที่ 5 ว่าหนังสือที่ปรากฏนี้คงไม่ได้เก่าขนาดสุโขทัยแน่ๆ 


รัชกาลที่ 5 ท่านก็เห็นอย่างนั้น แต่มีนักปราชญ์รุ่นก่อนๆ อย่างรัชกาลที่ 4 หรือ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท 


เชื่อว่าน่าจะมีตัวฉบับเดิมที่เก่าแก่ แต่ต้นฉบับอาจชำรุดขาดไป มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์จึงมีการแก้ไขเพิ่ม


เติมให้สมบูรณ์เท่าที่จะทำได้ และเล่าสืบกันมาว่าในครั้งรัชกาลที่ 3 ได้ทรงพระราชนิพนธ์แทรกไว้ตอน


หนึ่ง คือ ตอนที่ว่าด้วย ?พระศรีมโหสถลองปัญญานางนพมาศ? จนจบ ?นางเรวดีให้โอวาทของ


นพมาศ? ซึ่งกินเนื้อที่ ราว 1 ใน 3 ของเรื่อง

   สรุปความว่า หนังสือเล่มนี้หลายท่านเชื่อว่าน่าจะมีต้นฉบับเดิมมาตั้งแต่สมัยโบราณ แม้รัชกาลที่ 5 ได้


ทรงพระราชนิพนธ์ พระราชพิธีสิบสองเดือน ก็อ้างถึง หนังสือเรื่องนางนพมาศเอาไว้หลายครั้ง สำหรับ


ตัวหนังสือที่ตกมาในปัจจุบันเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม ทำให้ภาษาสำนวนใหม่ขึ้นมาก 

ทำไมจึงเชื่อว่า นางนพมาศเป็นหนังสือเก่า

   สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ท่านเห็นว่าหนังสือนี้น่าจะมีเค้าเดิมมาแต่เก่าก่อน เพราะในหนังสือเล่าพิธี


พราหมณ์เอาไว้ (ราว 1 ใน 3 ของเรื่อง) ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามธรรมเนียมเก่า โดยขนบแล้วพิธี


พราหมณ์นั้นมีตำราจดบันทึกรักษาไว้อย่างดี คนทั่วไปไม่ใคร่จะรู้ หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องพิธีพราหมณ์ได้


ละเอียดก็หมายความว่าไม่ธรรมดา 

เนื้อหา

   มาดูเนื้อหากันบ้าง ใครถาม ก็พอจะได้โม้ให้เขาฟังได้ ว่าตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เขาเล่าอะไรเอาไว้ ยิ้มเท่ห์

   เริ่มต้นว่าด้วยกำเนิดมนุษย์ ชาติภาษา พร้อมแนะนำตัวผู้เขียน ?ข้าน้อยผู้ได้นามบัญญัติชื่อว่า 


รีจุฬาลักษณ์? เล่าถึงกำเนิดอาณาจักรและ จากนั้นก็สรรเสริญพระเกียรติสมเด็จพระร่วงเจ้า เล่าถึง


ผู้คน ชาติตระกูลในสุโขทัย และมาถึงประวัติส่วนตัวของนางนพมาศ


   พระมโหสถ พราหมณ์ บิดาของนางนพมาศได้เล่านิทานสอนใจแก่นางสามสี่เรื่อง จากนั้นนางเรวดี 


มารดา ให้โอวาทสอนมารยาท แล้วนำไปถวายตัวพระร่วงเจ้า

   ช่วงต่อมานางนพมาศเล่าถึงพิธีพราหมณ์ทั้งสิ้น 12 พิธี เริ่มตั้งแต่เดือน 12 พิธีจองเปรียง (เดือนอ้าย 


เดือนยี่ จนถึงเดือนสิบเอ็ด พิธีอาชยุศ ปิดท้ายด้วยหัวข้อ ?ว่าด้วยความประพฤติแห่งนางสนม? เรื่อง


กิริยามารยาทต่างๆ

   เรื่องลอยกระทงกล่าวไว้ในพิธีแรก (คือเดือนสิบสองไทย) เรียกว่า พิธีจองเปรียง ?วันเพ็ญเดือน 12 


เป็นนักขัตฤกษ์ชักโคมลอยโคม? ผู้คนพากันแต่งโคมชักโคมแขวนโคมลอยทั่วพระนคร ทำโคมตกแต่ง


ลวดลาย มาชักมาแขวนเรียงรายตามแนวโคมชัยเสาระหงหน้าพระที่นั่ง มีมหรสพด้วย นางนพมาศทำ


โคมลอยเป็นรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) จุดประทีปเปรียง (คือ ใส่น้ำมันไขข้อโค) มีจุดดอกไม้ไฟ จุด


พะเนียงพลุสว่างไสวไปหมด ในหนังสือเล่าต่อว่า ?อันว่าโคมลอยรูปดอกกระมุทก็ปรากฏมาจนเท่า


ทุกวันนี้ แต่คำโลกสมมุติเปลี่ยนชื่อเรียกว่าลอยกระทงทรงประทีป? 

   สำหรับในพิธีจองเปรียงนี้ ได้กล่าวถึงโคมลอยโคมชัก โคมปักโคมห้อย (เช่นเดียวกับพระราชพิธีจอง


เปรียง ในหนังสือ พระราชพิธีสิบสองเดือน) เพื่อให้พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสักการะพระมหาเกตุธาตุจุฬามณี


ในชั้นดาวดึงส์ และพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเรือพระที่นั่งไปถวายดอกไม้เพลิงตามพระอารามหลวงริมฝั่งแม่น้ำ


ทั่วพระนคร 
  
วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง เราทั้งหลายชายหญิง สนุกกันจริง วันลอยกระทง ลอย ลอยกระทง 

ลอย ลอยกระทง อะแฮ่มๆ แหม...ใกล้จะถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 หรือเรียกง่ายๆ ว่า เทศกาลสำคัญหนึ่ง


ของคนไทยแล้ว มันก็ต้องคึกคักกันหน่อย (จริงป่ะ) แต่นอกจากการลอยกระทงเพื่อขอขมาพระแม่คงคา


แล้ว ยังมีการเล่นดอกไม้ไฟ พลุ หรือการแสดงต่างๆ อีกมากมาย ที่สำคัญยังมีการประกวดสาวงามหรือ 


"วันลอยกระทง""ประกวดนางนพมาศ" อีกด้วย อะๆ หลายคนอาจสงสัยว่านางนพมาศคือใคร มีที่ไปที่มา


อย่างไร แล้วทำไมต้องเรียว่านางนพมาศ เอาเป็นว่าเราไปความรู้จักกับ "ประวัตินางนพมาศ" กันดีกว่า


ค่ะ... 


          นางนพมาศ หรือ เรวดี นพมาศ เกิดในรัชกาลพญาเลอไท กษัตริย์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พระร่วง บิดา


เป็นพราหมณ์ชื่อ โชติรัตน์ มีราชทินนามว่า พระศรีมโหสถ รับราชการในตำแหน่งปุโรหิต  มารดาชื่อ เรวดี 


ภายหลังนางนพมาศได้ถวายตัวเข้าทำราชการในราชสำนักสมเด็จพระร่วงเจ้า สันนิษฐานว่ารับราชการ


ในแผ่นดินพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) จนกระทั่งได้รับตำแหน่ง "ท้าวศรีจุฬาลักษณ์" พระสนมเอก 


          นางนพมาศได้ทำคุณงามความดีเป็นที่โปรดปรานของพระร่วงในกาลต่อมา  ที่สำคัญๆ มีอยู่ 3 ครั้ง

          ครั้งที่ 1 เข้าไปถวายตัวอยู่ในวังได้ห้าวัน ก็ถึงพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป (ลอยกระทง) 


นางได้คิดประดิษฐ์โคมลอยรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) มีนกเกาะดอกไม้สีสวยๆ ต่างๆ กัน เป็นที่โปรดปราน


ของพระร่วงมาก

          ครั้งที่ 2 ในเดือนห้ามีพิธีคเชนทร์ศวสนาน เป็นพิธีชุมนุมข้าราชการทุกหัวเมือง มีเจ้าประเทศราช


ขึ้นเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการด้วย ในพิธีนี้พระเจ้าแผ่นดินทรงรับแขกด้วยเครื่องหมากพลู  นาง


นพมาศได้คิดประดิษฐ์พานหมากสองชั้นร้อยกรองด้วยดอกไม้งดงาม พระร่วงทรงโปรดปรานและรับสั่ง


ว่า ต่อไปผู้ใดจะทำการมงคลก็ดี รับแขกก็ดี  ให้ใช้พานหมากรูปดังนางนพมาศประดิษฐ์ขึ้น ซี่งเป็นต้น


เหตุของพานขันหมากเวลาแต่งงาน ซึ่งยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน

          ครั้งที่ 3 นางได้ประดิษฐ์พนมดอกไม้ถวายพระร่วงเจ้าเพื่อใช้บูชาพระรัตนตรัย พระร่วงทรงพอ


พระทัยในความคิดนั้น ตรัสว่าแต่นี้ต่อไปเวลามีพิธีเข้าพรรษาจะต้องบูชาด้วยพนมดอกไม้กอบัวนี้

          นางนพมาศเป็นบุคคลที่ฉลาดถ่อมตัวเป็นอย่างยิ่ง จนได้สมญาว่า "กวีหญิงคนแรกของไทย" ดัง


เช่นที่เขียนไว้ว่า "ทั้งเป็นสตรี สติปัญญาก็น้อยกว่าบุรุษ แล้วก็ยังอ่อนหย่อนอายุ กำลังจะรักรูปและแต่ง


กาย ซึ่งอุตสาหะพากเพียร กล่าวเป็นทำเนียบไว้ ทั้งนี้เพื่อหวังจะให้สตรีอันมีประเภทเสมอด้วยตน พึงให้


ทราบว่าข้าน้อยนพมาศ กระทำราชกิจในสมเด็จพระร่วยงเจ้ากรุงมหานครสุโขทัย ตั้งจิตคิดสิ่งซึ่งเป็นการ


ควรกับเหตุ ถูกต้องพระราชอัชฌาสัยพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ปรากฎชื่อแสียงว่าเป็นสตรีนักปราชญ์ ฉลาดใน


วิชาช่างอยู่ชั่วกัลปาวสาน " 




          นี่คือนางนพมาศ สนมเอกของสมเด็จพระร่วงเจ้า ผู้สามารถประดิษฐ์ความคิดได้เป็นที่น่า

อัศจรรย์ จนสืบกลายมาเป็นประเพณีต่อมาอยู่ช้านาน ทั้งๆ ที่นักประวัติศาสตร์หลายท่านสงสัย


ว่าจะมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ 







ลอยกระทง ที่ไหนดี?


          ใกล้ วันลอยกระทง เข้ามาทุกที วันนี้เรามี เกร็ดความรู้ บทความ ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว มา

แนะนำเพื่อนๆ กันด้วย เผื่อว่าบางคนยังคิดไม่ออกว่า วันลอยกระทง ปีนี้จะไป ลอยกระทง ที่ไหนดี ว้าว... 


ว่าแล้วก็ไปดู เกร็ดความรู้ บทความ ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว วันลอยกระทง เจ๋งๆ กันเลยดีกว่า 


          การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดงานลอยกระทงทั่วไทย 6 


ที่ทั่วประเทศ 


          1.ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จ.สุโขทัย จัดระหว่าง   จัดที่อุทยานประวัติศาสตร์


สุโขทัย มีขบวนแห่โคมชักโคมแขวน มีกิจกรรม เช่น ขบวนอัญเชิญพระประทีป และกระทงพระราชทาน 


กิจกรรมรับรุ่งอรุณแห่งความสุข การประกวดโคมชัก-โคมแขวน การแสดงแสงสีเสียงเรื่องราว


ประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุโขทัย กิจกรรมการเผาเทียน เล่นไฟ หรือดอกไม้ไฟนานาชนิดหลายรูปแบบ 


พ่อค้าแม่ค้าในงานจะแต่งกายด้วยชุดแบบสุโขทัยโบราณ ผู้เข้าร่วมงานหาซื้อบัตรเข้าชมการแสดงแสง


สีเสียงเรื่องราวประวัติศาสตร์สุโขทัยได้ที่ โทร.0-5561-1619 และ 0-5561-4304

          2.ประเพณียี่เป็ง จ.เชียงใหม่    ข่วงประตูท่าแพ ริมฝั่งแม่น้ำปิง หน้าเทศบาลนครเชียงใหม่ ใน


งานมีขบวนแห่โคมไฟ ขบวนประกวดกระทง การประกวดเทพียี่เป็ง การแสดงแสง-เสียงกลางลำน้ำปิง 


กิจกรรมลอยกระทงย้อนเวลาหาวิถีล้านนาไทย การแสดงศิลปะพื้นบ้านและการจำหน่ายสินค้าหัตถกรรม


พื้นบ้านแบบล้านนา

          3.ประเพณีลอยกระทงตามประทีป ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ    ชมการแสดงการจำลอง


ประเพณีการลอยกระทงตามประทีปของกษัตริย์ไทยสมัยกรุงศรี อยุธยาตอนปลาย พร้อมทั้งพิธีอาบเพ็ญ 


และการประกวดไหลเรือไฟ มีการประกวดนางนพมาศชิงถ้วยพระราชทานฯ มีการแสดงศิลปวัฒนธรรม


ไทยพื้นบ้าน เลือกซื้อและชมสินค้าจากศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ 


          4.ประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าสี่มุมเมือง จ.พระนครศรีอยุธยา 

        5.ประเพณีลอยกระทงสาย ไหลประทีปพันดวง ชิงถ้วยพระราชทานฯ จ.ตาก  ที่ริมสายธาร

ลานกระทงสาย เชิงสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จ.ตาก กิจกรรมในงานมีการประกวดกระทง


สายชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การจัดลอยพระประทีปของพระบรมวงศานุวงศ์ 


การจัดขบวนแห่กระทงพระราชทาน และพระประทีปพระราชทาน การจัดตกแต่งประดับไฟบริเวณงาน 


การจัดแสดงแสง เสียง พลุ และดอกไม้ไฟ การจัดแสดงม่านน้ำ ชุด ตำนานกระทงสาย การจัดลอย


กระทงที่ยาวที่สุด การแสดงทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง และการจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบล


หนึ่งผลิตภัณฑ์



          6.งานมหกรรมโคมไฟเฉลิม พระเกียรติฯ สีสันเมืองใต้ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จั ที่สวน

สาธารณะบึงศรีภูวนารถ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

          ส่วนที่อื่นมีอย่าง เทศบาลนครภูเก็ต จัดงานประเพณีลอยกระทง  ที่บริเวณเวทีกลางสะพานหิน วัน


ที่ 22 ช่วงค่ำมีการประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง และการแสดงของนักเรียน วันที่ 23 พฤศจิกายน ช่วงเช้ามีการ


แข่งขันวาดภาพ ส่วนช่วงค่ำมีการประกวดหนูน้อยนพมาศและการแสดงของนักเรียนบนเวที

          วันที่ 24 พฤศจิกายน ช่วงเช้ามีการประกวดเย็บใบตองสดและการจัดสวนถาด ส่วนช่วงค่ำระหว่าง


เวลา 18.30 - 20.00 น. มีการแห่ขบวนกระทงจากเทศบาลนครภูเก็ตไปยังเวทีกลางสะพานหิน มีด้วยกัน 


9 ขบวน คือ ขบวนชาติ, ขบวนศาสนา, ขบวนพระมหากษัตริย์, ขบวนพราหมณ์, ขบวนบูชาพระแม่คงคา, 


ขบวนตามรอยนางนพมาศ, ขบวนวัฒนธรรม, ขบวนแห่กระทง และขบวนยุคปัจจุบัน ส่วนตั้งแต่ 20.00 


น.เป็นต้นไป มีพิธีลอยกระทง และมีการจุดพลุเฉลิมพระเกียรติจำนวน 9 ชุด

          เชียงราย-มีงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ลุ่มน้ำโขง และลอยกระทง 4 ชาติ

          ที่บริเวณสนาม รด. อ.เมือง (เชิงสะพานแม่ฟ้าหลวง) จ.เชียงราย ในงานมีขบวนแห่กระทงประดิษฐ์ 


ร่วมลอยกระทง 4 ชาติ และการแสดงจากประเทศไทย ลาว จีน พม่า ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่เทศบาล


นครเชียงราย โทร.0-5371-1333 ต่อ 304-5

          พะเยา-มีงานยี่เป็งลอยโคม และงานสืบสาน ตำนานไทลื้อ  ที่บริเวณริมกว๊านพะเยา อ.เมือง 


จ.พะเยา ในงานมีการแข่งขันเรือ 22 ฝีพาย ขบวนแห่กระทง การปล่อมโคมลอย และการแสดงทาง


วัฒนธรรม ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่ปกครองจังหวัดพะเยา โทร.0-5444-9627-32 





          บุรีรัมย์-ประเพณีลอยกระทง "สีสันละลม อารยธรรมแห่งสายน้ำ" 

          ที่คลองละลม ศาลเจ้าแม่บัวลอย อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ มีพิธีบวงสรวงเจ้าแม่บัวลอย การแข่งขันเรือ


เข็มขนาด 7 ฝีพาย และกีฬาพื้นบ้าน การประกวดขบวนแห่ ประกวดกระทงใหญ่ กระทงเล็ก ประกวดนาง


นพมาศ การจุดพลุ ตะไล การแสดงคอนเสิร์ต ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ โทร.0-


4460-2345 ต่อ 612-3


          สุรินทร์ -สืบสานงานประเพณีลอยกระทง    ที่เวทีไผทสราญ สระน้ำวัดจุมพล สุทธาวาส มีการ


ประกวดนางนพมาศช้าง การแสดงศิลปะพื้นบ้าน การแข่งขันกีทางน้ำ การจุดพลุ ตะไล ไฟพะเนียง

           นครศรีธรรมราช-งานประเพณีลอยกระทง    สวนสาธารณะศรีธรรมาโศกราช อ.เมือง 


จ.นครศรีธรรมราช มีการประกวดนางนพมาศ การประกวดกระทงใหญ่ ประเภทสวยงาม การประกวด


ประดิษฐ์กระทง และการแสดงทางวัฒนธรรม




วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วันออกพรรษา


ประวัติความเป็นมาของวันออกพรรษา


หลังเทศกาลเข้าพรรษาผ่านพ้นไปได้ 3 เดือน ก็จะเป็น วันออกพรรษา ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่วัดในช่วงฤดูฝนตลอด 3 เดือนของพระภิกษุสงฆ์ โดย วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า "วันมหาปวารนา" คำว่า "ปวารนา" นั้นแปลว่า อนุญาตหรือยอมให้ โดยในปีนี้ วันออกพรรษา ตรงกับวันที่ 12 ตุลาคม 2554
     การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ เรียกว่า "ปวารณา" จัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้ โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอดไตรมาสสามารถว่ากล่าวตักเตือนและ ชี้ข้อบกพร่องแก่กันและกันได้โดยเสมอภาค ด้วยจิตที่ปรารถนาดีซึ่งกันและกัน เพื่อสามารถให้พระสงฆ์ที่ถูกตักเตือนมีโอกาสรับรู้ข้อบกพร่องของตนและสามารถ นำข้อบกพร่องไปแก้ไขปรับปรุงตัวให้ดียิ่งขึ้น
     เมื่อถึงวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้ และวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยยังนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหนะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า ในวันถัดวันออกพรรษาหนึ่งวัน พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่ 7 เพื่อลงมายังเมืองสังกัสสนครพร้อมกับทรงแสดงโลกวิวรณปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้งสามด้วย
     นอกจากนี้ ช่วงเวลาออกพรรษาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ถือเป็นเวลากฐินกาลตามพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยจะเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลเนื่องในงานกฐินประจำปีในวัดต่างๆ ด้วย โดยถือว่าเป็นงานบำเพ็ญกุศลที่ได้บุญกุศลมากงานหนึ่ง

ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา

     ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา ที่นิยมปฏิบัติอยู่ 2 อย่าง คือ
1. ประเพณีตักบาตรเทโว หลัง วันออกพรรษา
     หลังวันออกพรรษา 1 วัน คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 จะมีการ "ตักบาตรเทโว" หรือชื่อเต็มตามคำพระว่า "เทโวโรหนะ" แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก โดยสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตักบาตรดาวดึงส์" โดยอาหารที่นิยมนำไปใส่บาตรคือ ข้าวต้มมัด และ ข้าวต้มลูกโยน
ความเป็นมาของประเพณีตักบาตรเทโว มีดังนี้

     สมัยพุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม และเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาโดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา 1 พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสคร การที่พระพุทธองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า "เทโวโรหณะ" ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวปฏิบัติสืบทอดกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
     โดยพิธีตักบาตรเทโวโรหณะใน ปัจจุบันนั้นจะเริ่มตั้งแต่ตอนรุ่งอรุณ หลัง วันออกพรรษา พระภิกษุสามเณรลงทำวัตรในพระอุโบสถ พอพระอาทิตย์ขึ้นก็สมมติว่า พระลงมาจากบันไดสวรรค์ บางที่ก็มีดนตรีบรรเลงเพลงไทยเดิม สมมุติว่าเป็นพวกเทวดาบรรเลง ขับกล่อมตามส่งพระพุทธเจ้า ยังมีพวกแฟนตาซีอีก แต่งเป็นพวกยักษ์ เทวดา พระอินทร์ พรหม นางเทพธิดา นำหน้าขบวนพระภิกษุสามเณร ชาวบ้านก็จะใส่บาตรด้วยอาหารหวาน อาหารคาว ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัดจึงเป็นสัญลักษณ์ของพิธีนี้


2. ประเพณีเทศน์มหาชาติ หลังวันออกพรรษา

     งานเทศน์มหาชาติ นิยมทำกันหลัง วันออกพรรษา พ้นหน้ากฐินไปแล้ว ซึ่งกฐินจะทำกัน 1 เดือนหลังออกพรรษา ที่จะร่วมกันทอดกฐินทั้ง จุลกฐิน และ มหากฐิน โดยประเพณีงานเทศน์มหาชาติอาจทำในวันขี้น 8 ค่ำกลางเดือน 12 หรือในวันแรม 8 ค่ำ ก็ได้ เพราะในช่วงนี้น้ำเริ่มลดและข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์ จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริง แต่ในภาคอีสานนั้นนิยมทำกันในเดือน 4 เรียกว่า "งานบุญพระเวส" ซึ่งเป็นช่วงที่เสร็จจากการทำบุญลานเอาข้าวเข้ายุ้ง ในภาคกลาง บางท้องถิ่นทำกันในเดือน 5 ต่อเดือน 6 ก็มี
     งานเทศน์มหาชาตินั้นจะทำในเดือนไหนก็ได้ไม่จำกัดฤดูกาล โดยมากเพื่อเป็นการหาเงินเข้าวัด บางแห่งนิยมทำในเดือน 10 โดยการเทศน์มหาชาตินั้น มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 13 กัณฑ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดรอันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์ ก่อนที่จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และออกบวชจนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

กิจกรรมต่างๆ ที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติใน วันออกพรรษา

     1. ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ

     2. ฟังพระธรรมเทศนา รักษาศีล ถวายสังฆทาน ถวายภัตตาหาร หรือจัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา


     3. ร่วมกุศลธรรม "ตักบาตรเทโว"


     4. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและ ประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัด และสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา


     5. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือ บรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษาฯลฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป


     6. งดการเที่ยวเตร่ ละเว้นอบายมุข รวมทั้งละเว้นการฆ่าสัตว์และบริโภคเนื้อสัตว์

โดยประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการทำพิธี วันออกพรรษา จะมีดังต่อไปนี้

     เตือนสติว่าเวลาที่ผ่านพ้นไปอีกพรรษาหนึ่งแล้วได้คร่าชีวิตมนุษย์ ให้ผู้คนนั้นดำรงอยู่ในความไม่ประมาทและหันมาสร้างกุศล
     การทำบุญออกพรรษาจะเปิดโอกาสให้ผู้อื่นชำระความผิดของตนได้ คือหลักปวารณา ปกติคนเราคบกันนานๆ ก็จะเผย "สันดาน" ที่แท้ออกมา อาจจะไม่ดีนักแต่ตนเองไม่รู้ตัวแล้วมองไม่เห็น แต่ผู้อยู่ข้างๆ มองเห็นแต่ไม่กล้าเตือน ดังนั้นตนเองต้องปวารณาตัวให้ผู้อื่นชี้แนะได้ ความสัมพันธ์ก็จะดีขึ้นและยั่งยืน
     ได้ข้อคิดที่ว่า คนเราส่วนใหญ่มักจะลำเอียงเข้าข้างตนเองเป็นฝ่ายถูก ความผิดของคนอื่นเห็นง่ายส่วนตนเองนั้นความผิดนั้นเห็นยาก นี่แหละสัญชาตญาณของคนเรา
     เป็นการให้รู้ถึงการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการเปิดใจซึ่งกันและกัน โดยไม่มีเล่ห์เหลี่ยมลับลมคมในใดๆ ต่อในการคบหาหรืออยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
     ดังนั้นใครที่อยากจะเปลี่ยนแปลงตัว เอง วันออกพรรษา จึงน่าจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม สำหรับการย้อนมองดูตัวเองว่าได้ทำสิ่งใดผิดพลาดไว้บ้างหรือเปล่า เพื่อที่จะได้ปรับปรุงและไม่ทำผิดซ้ำในเรื่องเดิมอีก

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วันปิยะมหาราช 23 ตุลาคม 2555

วันปิยะมหาราช ประวัติและความเป็นมา เชิญชมได้ที่ ลิ้งค์ได้ล่าง
      พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คือ การประกาศเลิกทาส ทำให้ปวงชนชาวไทยได้เป็นไทมาจวบจนทุกวันนี้ 

          ในรัชสมัยของพระองค์ สยามประเทศได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สร้างความวัฒนาให้กับชาติเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า การไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ ฯลฯ ด้วยพระราชกรณียกิจที่ยังความผาสุกให้เกิดแก่ประชาชน ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงน้อมใจแสดงความจงรักภักดี ด้วยการถวายพระนามว่า "พระปิยมหาราช" หรือพระพุทธเจ้าหลวง และกำหนดให้ทุกวันที่ 23 ตุลาคม เป็น วันปิยมหาราช 

ประวัติความเป็นมา

พระราชประวัติ

                 เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 ได้เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าโศกให้กับประเทศไทยครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่เคารพรักของทวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมือง และพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า 

          ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทางราชการได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า "วันปิยมหาราช" และกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ 

          เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น "กรุงเทพมหานคร" ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็น "สำนักพระราชวัง" ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติฉัตร 5 ชั้น ประดับโคมไฟ ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน 

          พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วันปิยมหาราช ครั้งแรกเกิดขึ้นถัดจากปีที่ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายแล้วเสด็จฯ ไปถวายพวงมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะที่พระบรมราชานุสาวรีย์ 


 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทรา พระบรมราชินี) เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรลังกาศ" ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "กรมขุนพินิตประชานาถ" บรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411 ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" 
          เนื่องจากขณะนั้นมีพระชันษาเพียง 16 ปี ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัยชาญ พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญพระมหาอุปราช 

          ระหว่างที่สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการอยู่นั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาเป็นอันมาก เช่น โบราณราชประเพณี รัฐประศาสน์ โบราณคดี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ วิชาปืนไฟ วิชามวยปล้ำ วิชากระบี่กระบอง และวิชาวิศวกรรม 

          ในตอนนี้ยังได้เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา 2 ครั้ง เสด็จประพาสอินเดีย 1 ครั้ง การเสด็จประพาสนี้มิใช่เพื่อสำราญพระราชหฤทัย แต่เพื่อทอดพระเนตรแบบแผนการปกครองที่ชาวยุโรปนำมาใช้ปกครองเมืองขึ้นของตน เพื่อจะได้นำมาแก้ไขการปกครองของไทยให้เหมาะสมแก่สมัยยิ่งขึ้น ตลอดจนการแต่งตัว การตัดผม การเข้าเฝ้าในพระราชฐานก็ใช้ยืน และนั่งตามโอกาสสมควร ไม่จำเป็นต้องหมอบคลานเหมือนแต่ก่อน 

          เมื่อพระชนมายุบรรลุพระราชนิติภาวะ ได้ทรงผนวชเป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วจึงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 และนับจากนั้นมาก็ทรงพระราชอำนาจเด็ดขาดในการบริหารราชการแผ่นดิน 
          ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ทรงปกครองทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้มั่งคั่งสมบูรณ์ ดัวยรัฐสมบัติ พิทักษ์พสกนิกรให้อยู่เย็นเป็นสุข บำบัดภัยอันตรายทั้งภายในภายนอกประเทศ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ และสามารถธำรงเอกราชไว้ตราบจนทุกวันนี้ 

          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 รวมพระชนมายุได้ 58 พรรษา ครองราชสมบัติมานานถึง 42 ปี 

พระราชกรณียกิจ

พระราชกรณียกิจที่สำคัญในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อาทิเช่น 

 1.การเลิกทาส 

 เป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่ง ที่ทำให้พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" 
ด้วยพระองค์ทรงเห็นว่า มีทาสในแผ่นดินเป็นจำนวนมาก และลูกทาสในเรือนเบี้ยจะสืบต่อการเป็นทาสไปจนรุ่นลูกรุ่นหลานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าไม่มีเงินมาไถ่ตัวเองแล้ว ต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต พระองค์จึงทรงมีพระทัยแน่วแน่ว่า จะต้องเลิกทาสให้สำเร็จ แม้จะเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะทาสมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ อีกทั้งเจ้านายที่เป็นใหญ่ในสมัยนั้นมักมีข้ารับใช้ เมื่อไม่มีทาส บุคคลเหล่านี้อาจจะไม่พอใจและก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นเหมือนกับที่เกิดขึ้นในต่างประเทศมาแล้ว 

          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จึงตราพระราชบัญญัติขึ้น เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2417 ให้มีผลย้อนหลังไปถึงปีที่พระองค์เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ มีบัญญัติว่า ลูกทาสซึ่งเกิดเมื่อปีมะโรง พ.ศ.2411 ให้มีสิทธิได้ลดค่าตัวทุกปี และพอครบอายุ 21 ปีก็ให้ขาดจากความเป็นทาสทั้งชายและหญิงจากนั้นใน พ.ศ.2448 จึงได้ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า "พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124" (พ.ศ.2448) เลิกลูกทาสในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด เด็กที่เกิดจากทาส ไม่ต้องเป็นทาสอีกต่อไป และการซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญา ส่วนผู้ที่เป็นทาสอยู่แล้ว ให้นายเงินลดค่าตัวให้เดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมด 

          ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน ในเวลาเพียง 30 ปีเศษ ทาสในเมืองไทยก็หมดไปโดยไม่เกิดการนองเลือดเหมือนกับประเทศอื่นๆ 

2.การปฏิรูประบบราชการ 

          ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ แยกหน่วยราชการออกเป็นกรมกองต่างๆ มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะไม่ก้าวก่ายกัน จากเดิมมี 6 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงลาโหม, กระทรวงนครบาล, กระทรวงวัง, กระทรวงการคลัง และกระทรวงเกษตราธิการ ได้เพิ่มอีก 4 กระทรวง รวมเป็น 10 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับกิจการของพระสงฆ์ และการศึกษา, กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับคดีความที่ต้องตัดสินต่างๆ , กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่ดูแลตรวจตราการก่อสร้าง การทำถนน ขุดลอกคูคลอง งานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง และกระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่ดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ 

 3.การสาธารณูปโภค 
           การประปา ทรงให้กักเก็บน้ำจากแม่น้ำเชียงรากน้อย จังหวัดปทุมธานี และขุดคลองเพื่อส่งน้ำเข้ามายังสามเสน พร้อมทั้งฝังท่อเอกติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการทำน้ำประปาขึ้นในเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2452 

           การคมนาคม วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์ เพื่อประเดิมการสร้างทางรถไฟไปนครราชสีมา แต่ทรงเปิดทางรถไฟกรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยาก่อน จึงนับว่าเส้นทางรถไฟสายนี้เป็นทางรถไฟแห่งแรกของไทย

 นอกจากนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพาน และถนนอีกมากมาย คือ ถนนเยาวราช ถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ถนนดินสอ ถนนบูรพา ถนนอุณากรรณ เป็นต้น และโปรดให้ขุดคลองต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางคมนาคม และส่งเสริมการเพาะปลูก 

           การสาธารณสุขเนื่องจากการรักษาแบบยากลางบ้านไม่สามารถช่วยคนได้อย่างทันท่วงที จึงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 200 ชั่ง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงพยาบาลวังหลัง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลศิริราช" เปิดทำการรักษาประชาชนเป็นครั้งแรกเมื่อ 26 เมษายน พ.ศ.2431 

           การไฟฟ้า พระองค์ทรงมอบหมายให้กรมหมื่นไวยวรนาถ เป็นแม่งานในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2433 

           การไปรษณีย์ โปรดให้เริ่มจัดขึ้นในปี พ.ศ.2424 รวมอยู่ในกรมโทรเลข ซึ่งได้จัดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2412 โดยโทรเลขสายแรกคือ ระหว่างจังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานคร) กับจังหวัดสมุทรปราการ

 4.การเสด็จประพาส 

 การเสด็จประพาสเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญอันหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยหลังจากเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสแล้ว ก็ได้เสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้ง ในปี พ.ศ.2440 ครั้งหนึ่ง และในปี พ.ศ. 2450 อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ในยุโรป ตลอดจนประเทศฝรั่งเศสด้วย อีกทั้งยังได้ทรงเลือกสรรเอาแบบแผนขนบธรรมเนียมอันดีในดินแดนเหล่านั้นมาปรับปรุงในประเทศให้เจริญขึ้น

          ในการเสด็จประพาสครั้งแรกนี้ ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาตลอดระยะทางถึงสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินีนาถ (ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พระราชหัตถเลขานี้ต่อมาได้รวมเป็นหนังสือเล่มชื่อ "พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน" ให้ความรู้อย่างมากมายเกี่ยวแก่สถานที่ต่างๆ ที่เสด็จไป

          ส่วนภายในประเทศ ก็ทรงถือว่าการเสด็จประพาสในที่ต่างๆ เป็นการตรวจตราสารทุกข์สุขดิบของราษฎรได้เป็นอย่างดี พระองค์จึงได้ทรงปลอมแปลงพระองค์ไปกับเจ้านายและข้าราชการ โดยเสด็จฯ ทางเรือมาดแจวไปตามแม่น้ำลำคลองต่างๆ เพื่อแวะเยี่ยมเยียนตามบ้านราษฎร ซึ่งเรียกกันว่า "ประพาสต้น" ซึ่งได้เสด็จ 2 ครั้ง คือในปี พ.ศ.2447 และในปี พ.ศ.2449 อีกครั้งหนึ่ง

รัชกาลที่ 5

 5.การศึกษา

          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงโปรดให้สร้างโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง คือ "โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก" ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น"โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ" ต่อมาโปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นเป็นแห่งแรก คือ "โรงเรียนวัดมหรรณพาราม" และในที่สุดได้โปรดให้จัดตั้งกระทรวงธรรมการขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2435 (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) เพื่อดูแลเรื่องการศึกษาและการศาสนา
รัชกาลที่ 5


 6.การปกป้องประเทศจากการสงครามและเสียดินแดน

          เนื่องจากลัทธิจักรวรรดินิยมได้แผ่อิทธิพลเข้ามาตั้งแต่ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ปรีชาสามารถอย่างสุดพระกำลังที่จะรักษาประเทศชาติให้รอดพ้นจากวิกฤติการณ์ ถึงแม้ว่าจะต้องสูญเสียดินแดนบางส่วนไปก็ตาม โดยดินแดนที่ต้องเสียให้กับต่างชาติ ได้แก่

           พ.ศ.2431 เสียดินแดนในแคว้นสิบสองจุไทย
           พ.ศ.2436 เสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ให้ฝรั่งเศส และฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีไว้
           พ.ศ.2447 เสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี แต่ฝรั่งเศสได้ยึดตราดไว้แทน
           พ.ศ.2449 เสียดินแดนที่เมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับตราด และเกาะทั้งหลาย แต่การเสียดินแดนครั้งสุดท้ายนี้ไทยก็ได้ประโยชน์อยู่บ้าง คือฝรั่งเศสยอมยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ยอมให้ศาลไทยมีสิทธิที่จะชำระคดีใดๆ ที่เกิดขึ้นแก่ชาวฝรั่งเศส ไม่ต้องไปขึ้นศาลกงสุลเหมือนแต่ก่อน 

          ส่วนทางด้านอังกฤษ ประเทศไทยได้เปิดการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษ รวมถึงเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตด้วย ใน พ.ศ.2454 อังกฤษจึงยอมตกลงให้ชาวอังกฤษ หรือคนในบังคับอังกฤษมาขึ้นศาลไทย และยอมให้ไทยกู้เงินจากอังกฤษ เพื่อนำมาใช้สร้างทางรถไฟสายใต้จากกรุงเทพฯ ถึงสิงคโปร์ เพื่อตอบแทนประโยชน์ที่อังกฤษเอื้อเฟื้อ ทางฝ่ายไทยยอมยกรัฐกลันตัน ตรังกานูและไทยบุรี ให้แก่สหรัฐมลายูของอังกฤษ

 ลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น 
           พ.ศ.2411 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ

           พ.ศ.2412 ทรงโปรดเกล้าให้สร้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์

           พ.ศ.2413 เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา, โปรดฯ ให้ยกเลิกการไว้ผมทรงมหาดไทย

           พ.ศ.2415 ทรงปรับปรุงการทหารครั้งใหญ่, โปรดให้ใช้เสื้อราชปะแตน, โปรดให้สร้างโรงเรียนหลวงสอนภาษาอังกฤษแห่งแรกขึ้นในพระบรมหาราชวัง

           พ.ศ.2416 ทรงออกผนวชตามโบราณราชประเพณี, โปรดให้เลิกประเพณีหมอบคลานในเวลาเข้าเฝ้า

           พ.ศ.2417 โปรดให้สร้างสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน, ตั้งโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (ปัจจุบันคือ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย) และให้ใช้อัฐกระดาษแทนเหรียญทองแดง

           พ.ศ.2424 เริ่มทดลองใช้โทรศัพท์ครั้งแรก เป็นสายระหว่างกรุงเทพฯ–สมุทรปราการ, สมโภชพระนครครบ 100 ปี มีการฉลอง 7 คืน 7 วัน

           พ.ศ.2426 โปรดให้ตั้งกรมไปรษณีย์ เริ่มบริการไปรษณีย์ในพระนคร, ตั้งกรมโทรเลข และเกิดสงครามปราบฮ่อครั้งที่ 2

           พ.ศ.2427 โปรดฯ ให้ตั้งโรงเรียนราษฎร์ทั่วไปตามวัด โรงเรียนแห่งแรกคือ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม

           พ.ศ.2429 โปรดฯ ให้เลิกตำแหน่งมหาอุปราช ทรงประกาศตั้งตำแหน่งมกุฏราชกุมารขึ้นแทน

           พ.ศ.2431 เสียดินแดนแคว้นสิบสองจุไทให้แก่ฝรั่งเศส, เริ่มการทดลองปกครองส่วนกลางใหม่, เปิดโรงพยาบาลศิริราช, โปรดฯให้เลิกรัตนโกสินทร์ศก โดยใช้พุทธศักราชแทน

           พ.ศ.2434 ตั้งกระทรวงยุติธรรม, ตั้งกรมรถไฟ เริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมา

           พ.ศ.2436 ทรงเปิดเดินรถไฟสายเอกชน ระหว่างกรุงเทพฯ-ปากน้ำ, กำเนิดสภาอุนาโลมแดง (สภากาชาดไทย)

           พ.ศ.2440 ทรงเสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก

           พ.ศ.2445 เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส

           พ.ศ.2448 ตราพระราชบัญญัติยกเลิกการมีทาสโดยสิ้นเชิง

           พ.ศ.2451 เปิดพระบรมรูปทรงม้า

           พ.ศ.2453 เสด็จสวรรคต

 พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบรมรูปทรงม้า
พระบรมรูปทรงม้า

          ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ได้ร่วมใจกันรวบรวมเงินจัดสร้างอนุสาวรีย์ถวายเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช ผู้ทรงสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม และเนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงครองราชย์นานถึง 40 ปี          พระบรมรูปทรงม้านี้ หล่อด้วยโลหะชนิดทองบรอนซ์ พระองค์ใหญ่กว่าขนาดจริงเล็กน้อย ประดิษฐานบนแท่นหินอ่อนอันเป็นแท่นรองสูงประมาณ 6 เมตร กว้าง 2 เมตรครึ่ง ยาว 5 เมตร ห่างจากฐานของแท่นออกมามีรั้วเตี้ยๆ ลักษณะเป็นสายโซ่ขึงระหว่างเสาล้อมรอบกว้าง 9 เมตร ยาว 11 เมตร ที่แท่นด้านหน้ามีคำจารึกบนแผ่นโลหะติดประดับสรรญเสริญว่า "คำจารึกฐานองค์พระบรมรูปทรงม้า ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนากาลล่วงแล้ว 2451พรรษา จำเดิมแต่พระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ได้ประดิษฐาน แลดำรงกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยาเป็นปีที่ 127 โดยนิยม"

          สำหรับแบบรูปของพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ ได้จ้างช่างหล่อชาวฝรั่งเศส แห่งบริษัทซูซ เซอร์เฟรส ฟองเดอร์เป็นผู้หล่อ ณ กรุงปารีส เลียนแบบพระบรมรูปทรงม้าของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ประดิษฐานอยู่หน้าพระราชวังแวร์ซายส์ ในประเทศฝรั่งเศส เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2450 พระองค์ได้เสด็จประทับให้ช่างปั้นพระบรมรูป เมื่อวันที่ 22 สิงหคม ศกนั้น พระบรมรูปเสร็จเรียบร้อย และส่งเข้ามายังกรุงรัตนโกสินทร์ในทางเรือ

          เมื่อ พ.ศ.2451 โปรดให้ประดิษฐานไว้ ณ พระลานหน้าพระราชวังดุสิต ระหว่างพระราชวังสวนอัมพรกับบสนามเสือป่า ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่งอนันตสมาคม ทรงประกอบพระราชพิธีเปิดพระบรมรูปนี้ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2451 ตรงกับวันพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกครองราชสมบัติได้ 40 ปี 
          เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระบรมรูปทรงม้า ขึ้นประดิษฐานบนแท่นรองที่หน้าพระลานพระราชวังดุสิต ที่ประจักษ์อยู่ในปัจจุบันนี้ โดยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงอ่านคำถวายพระพรชัยมงคล เสร็จแล้วจึงน้อมเกล้าฯ ถวายพระบรมรูปทรงม้า กราบบังคมทูลอัญเชิญให้พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช พระราชบิดาให้ทรงเปิดผ้าคลุมพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นปฐมฤกษ์ เพื่อประกาศเกียรติคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้สถิตสถาพรปรากฏสืบไปชั่วกาลนาน

 กิจกรรมใน วันปิยมหาราช 

วันปิยมหาราช

          ในวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี หน่วยงานต่างๆ ทั้งราชการและภาคเอกชน นักเรียน-นิสิตนักศึกษา รวมทั้งประชาชนจะมาวางพวงมาลาดอกไม้สักการะ และถวายบังคมที่พระบรมรูปทรงม้า เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทำบุญตักบาตอุทิศเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ในหน่วยงาน และโรงเรียน มหาวิทยาลัย จะจัดนิทรรศการเผยแพร่พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นการประกาศเกียรติคุณให้ไพศาลสืบไป










ตรวจสอบเบอร์มือถือ