มา ๆๆๆ เรามาคุยกันเพื่อนๆทั้งหลาย

คุยกับเพื่อนทั่วๆไป

คุยกับเืพื่นที่เรียนด้วยกันวันอาทิตย์


Get kikrakdeaw chat group | Goto kikrakdeaw website

Get your own Chat Box! Go Large!

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประวัติคริสต์มาส



 
 

ประวัติวันคริสต์มาส



วันคริสต์มาสเป็นวันหยุดประจำปี ที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซูซึ่งตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม โดยวันดังกล่าวอาจจะไม่ตรงกับวันเกิดจริงๆของพระเยซู แต่อาจจะเป็นวันที่ถูกเลือกเอาไว้เพื่อให้สอดคล้องกับเทศกาลโรมัน หรือสอดคล้องกับวันที่มีช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุด (winter solstice)คริสต์มาสเป็นเทศกาลที่สำคัญ และมีการฉลองอย่างยิ่งใหญ่ ในย่านของชาวคริสเตียนนั้นจะมีการจัดเทศกาลนี้ยาวนานถึง 12 วัน
 แม้ว่าวันคริสต์มาสจะเป็นเทศกาลของชาวคริสต์ แต่ในหมู่คนที่ไม่ใช่ชาวคริสต์ก็มีการเฉลิมฉลอง
กันอย่างแพร่หลายเช่นกัน ซึ่งการเฉลิมฉลองนั้นมีทั้งแบบสมัยใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาเลยกับอีก
แบบหนึ่งคือแบบดั้งเดิม โดยประเพณีที่เป็นนิยมในสมัยใหม่นั้น ได้แก่ การมอบของขวัญ การแลกเปลี่ยนการ์ดอวยพร
การจัดงานเลี้ยงฉลองในโบสถ์ การรับประทานอาหารมื้อพิเศษ และการโชว์งานตกแต่งประดับประดาตามสถานที่ต่าง ๆด้วย ต้นคริสต์มาส ดวงไฟประดับ พวงดอกไม้ ต้นมิสเซิลโท การแสดงเกี่ยวกับวันประสูติของพระเยซู และต้นฮอลลี่
นอกจากนี้บิดาแห่งคริสต์มาส (หรือที่ชาวอเมริกาเหนือและไอร์แลนด์เรียกว่า ซานตาคลอส) ยังเป็นหนึ่งตำนานที่เป็น
ที่รู้จักกันว่าเป็นผู้นำของขวัญมามอบให้กับเด็ก ๆ
 เนื่องจากการมอบของขวัญและการฉลองทั้งหลายนี้ ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจสูงมาก ทั้งในเมืองของชาวคริสเตียน และที่ไม่ใช่ชาวคริสเตียนเทศกาลคริสต์มาสจึงกลายเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการขายของสำหรับเหล่าพ่อค้าและนักธุรกิจการที่ระบบเศรษฐกิจได้รับการกระตุ้นจากเทศกาลนี้คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเติบโตอย่างต่อเนื่องในทั่วทุกพื้นที่ในช่วง 2-3 ศตวรรษที่ผ่านมานี้
 

ที่มาของคำว่า คริสต์มาส

.. ที่มาของคำว่า คริสต์มาส ..
 คำว่า คริสต์มาส มีที่มาจากคำประสม คำว่า “Christ's Mass” ซึ่งมีรากคำมาจากคำว่า Christemasse ของภาษาอังกฤษยุคกลาง และ คำว่า Cristes mæsse จากภาษาอังกฤษโบราณซึ่งมีการบันทึกคำดังกล่าวครั้งแรกไว้ในปี 1038 คำว่า Cristes มาจากพระเยซูคริสต์ของกรีก และคำว่า mæsse มาจากหนังสือสวดมนตร์ของชาวละติน ในภาษากรีกตัวอักษร X เป็นตัวอักษรแรกของคำว่า “Christ” ซึ่งคล้ายกับตัว X ในภาษาโรมัน จึงมีการใช้ X แทน Christ ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 16 ดังนั้นจึงนิยมใช้คำว่า Xmas แทน Christmas
 

ประวัติคริสต์มาส


เป็นเวลาหลายศตวรรษที่นักเขียนชาวคริสเตียนยอมรับว่าวันคริสต์มาสนั้นตรงกับวันประสูติของพระเยซู
อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีนักวิชาการนำเสนอคำอธิบายเพิ่มเติม ไอแซค นิวตัน
ให้ความเห็นว่าวันคริสต์มาสนั้นถูกเลือกขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับช่วง วันที่มีกลางวันสั้นที่สุด (winter solstice)
ซึ่งในอดีตได้กำหนดไว้ให้ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม

ปี 1743 Paul Ernst Jablonski ชาวเยอรมันที่นับถือคริสต์นิกายโปแตสแตนซ์ ให้ความเห็นว่าวัน
คริสต์มาสนั้นระบุให้ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม เพื่อให้สอดคล้องกับวันหยุด Roman Solar Holiday Dies Natalis Solis Invicti และโดยเหตุการณ์นั้น พวกนอกรีตได้ทำให้โบสถ์ดูไม่น่าเลื่อมใส และหมดความศรัทธา

ปี 1889 Louis Duchesne กล่าวว่าวันคริสต์มาสถูกคำนวณจากวัน Annunciation ไปอีก 9 เดือน วัน Annunciation ตรงกับวันที่ 25 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่ระลึกถึงการกลับชาติมาเกิดของนางฟ้ากาเบรียล ซึ่งจุติเป็นพระแม่มารี ซึ่งตามประเพณีแล้วถือว่าเป็นวันแห่งการลงมาจุติยังโลกมนุษย์


Dies Natalis Solis Invicti หมายความว่า “วันเกิดของเทพเจ้าแห่งพระอาทิตย์ 
ผู้ที่ไม่มีใครเอาชนะได้” การใช้คำนำหน้า Sol Invictus จะอนุญาตให้ใช้กับเทพแห่งดวงอาทิตย์ที่ได้รับการให้ความเคารพในชนหมู่มาก ได้แก่ Elah-Gabal, เทพแห่งดวงอาทิตย์ของชาวซีเรีย Sol เทพซึ่งเป็นจักรพรรดิของชาว Aurelian และ Mithras องครักษ์เทพของชาวเปอร์เซียพื้นเมือง จักรพรรดิ Elagabalus (ปี 218-222) เป็นผู้นำเอาประเพณีนี้เข้ามา ซึ่งได้รับความนิยมมากในหมู่ชาว Aurelian ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นวันหยุดประจำราชอาณาจักร แต่เทศกาลนี้ก็ไม่ได้รับการระบุลงในปฏิทินเทศกาลของโรมัน จนกระทั่งศตวรรษที่ 3

Dies Natalis Solis Invicti



เทศกาลนี้ถูกระบุลงในวันที่กลางวันสั้นที่สุด เพราะเป็นวันที่ดวงอาทิตย์หมุนกลับไปทางใต้เพื่อจะพิสูจน์ถึงการ "ไม่อาจเอาชนะได้" ซึ่งนักเขียนชาวคริสเตียนหลายคนได้เชื่อมเอาการกลับมาของดวงอาทิตย์ไปโยงกับการประสูติขององค์พระเยซู Cyprian ได้เขียนเอาไว้ว่า “การกำเนิดของดวงอาทิตย์ช่างงดงาม....พระเยซูคริสต์เองก็ควรประสูติในวันเช่นนี้” John Chrysostom เองก็ได้เขียนเอาไว้เช่นกันว่า “พวกเขาเรียกวันนั้นว่า วันเกิดของผู้ที่ไม่มีใครเอาชนะได้ แล้วใครกันที่จะไม่มีวันพ่าย หากไม่ใช่พระผู้เป็นเจ้า”
 

เทศกาลฤดูหนาว

 
เทศกาลฤดูหนาวคือเทศกาลที่ประชาชนให้ความนิยมสูงสุดกันมาช้านานในหลายประเทศด้วยเหตุผลหลายประการ รวมถึงงานด้านเกษตรกรรมมีไม่มากนักในช่วงฤดูหนาวและเพราะการตั้งความหวังว่าสภาพอากาศจะดีขึ้นเมื่อฤดูใบไม้ผลิแวะเวียนมาถึงกิจกรรมของคริสต์มาสสมัยใหม่นั้น ประกอบด้วย การมอบของขวัญ การเฉลิมฉลองเพื่อบูชาเทพเจ้าของชาวโรมันการประดับสถานที่ด้วยพืชพันธุ์สีเขียวและแสงไฟ รวมถึงงานการกุศลในวันปีใหม่ของชาวโรมันการก่อกองไฟจากท่อนไม้ขนาดใหญ่ และสำหรับชาวเยอรมันจะมีการเลี้ยงฉลองด้วยอากหารหลากชนิดปฏิทินของชาวเพเกน สแกนดิเนียเวีย ฉลองเทศกาลฤดูหนาวโดยใช้ชื่อว่า ยูล ซึ่งจะจัดขึ้นในปลายเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคม เนื่องจากทางตอนเหนือของยุโรปเป็นพื้นที่ท้ายๆที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งวัฒนธรรมเพเกนเองก็ได้รับอิทธิพลมาจากวันคริสต์มาสชาวสแกนดิเนเวียนยังคงเรียกวันคริสต์มาสว่า คริสต์มาส จูล ในภาษาอังกฤษคำว่ายูลนั้นมีความหมายเหมือนกับคำว่าคริสต์มาส ซึ่งมีการบันทึกการใช้ครั้งแรกในปี 900
 

ความเป็นมาของผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์



พระคัมภีร์ไบเบิลเล่มใหม่ไม่ได้ระบุถึงวันประสูติของพระเยซู ซึ่งประมาณปีคริสต์ศักราชที่ 200จากความเมตตาของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ทำให้ชนชาวอิยิปเฉลิมฉลองเทศกาลงานคล้ายวันประสูติที่ Pachon 25 ได้ ซึ่งตรงกับวันที่ 20 พฤษภาคม

ชนชาว Tertullian เมื่อคริสต์ศักราชที่ 220 ไม่ได้เอ่ยถึงความสำคัญของเทศกาลคริสต์มาสที่มีผลกระทบอย่างมากต่องานวันเฉลิมฉลองที่จัดขึ้นในโบสถ์ของชาวโรมัน – แอฟริกา

อย่างไรก็ตาม ใน Chronographai หนังสืออ้างอิงซึ่งได้เผยแพร่ในปี 221, Sextus Julius Africanusได้บรรยายไว้ว่า การตั้งครรภ์พระเยซู เกิดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิ ของวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน ดังนั้น จึงเกิดความคิดที่แพร่หลายกันว่าพระเยซูประสูติในวันที่ 25 ธันวาคม ซึ่งวันที่กลางวันและ
กลางคืนยาวเท่ากันตามปฏิทินของชาวโรมันนั้น คือวันที่ 25 มีนาคมทำให้เกิดความเข้าใจกันว่าการประสูติจะอยู่ในเดือนธันวาคม

 De Pascha Computus คือปฏิทินของวันเฉลิมฉลอง จัดทำขึ้นในปี 243 ได้ระบุให้วันที่ 28 มีนาคม
เป็นวันแห่งการกำเนิดของพระเยซู ในปี 245 นักเทววิทยา Origen of Alexandria ได้เปิดประเด็นว่ามีแต่คนบาปเท่านั้น (เช่น ฟาร์โร และเฮร็อด) ที่เฉลิมฉลองวันเกิดของตนเอง ในปี 303 นักเขียนคริสเตียนที่ชื่อ Arnobius เยาะเย้ยความคิดในเรื่องการเฉลิมฉลองวันประสูติของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเขาได้แนะนำว่าวันคริสต์มาสไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการจัดงานเฉลิมฉลอง
 

จุดเริ่มต้นของเทศกาล

 
จุดเริ่มต้นของเทศกาล

มีการค้นพบเอกสารที่อ้างอิงว่าพระเยซูประสูติในวันที่ 25 ธันวาคม ใน the Chronography of 354 ซึ่งเป็นต้นฉบับที่รวบรวมไว้ในกรุงโรมเมื่อปี 354 ชาวคริสต์ทางตะวันออกจะถือเอาการเฉลิมฉลองวันประสูติของพระเยซูเป็น ส่วนหนึ่งของวัน Epiphany (6 มกราคม) แม้ว่าวัน Epiphany นี้ จะเน้นที่พิธีกรรมการล้างบาปก็ตาม

เทศกาลคริสต์มาสเป็นที่รู้จักของชาวคริสเตียนตะวันออกในส่วนของการฟื้นฟู ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกขึ้นมาใหม่ หลังจากการสิ้นพระชนม์ของจักรพรรดิ Arian Emperor Valens ที่สมรภูมิ Adrianople ในปี 378 การฉลองเริ่มเป็นที่รู้จักในเมือง Constantinople เมื่อปี 379 และเมือง Antioch ในปี 380 แล้วประเพณีการเฉลิมฉลองก็เลือนหายไปหลังจากที่ Gregory แห่ง Nazianzus ลาออกจากตำแหน่งบิช็อปในปี 381 และก็ถูก John Chrysostom นำกลับมาเผยแพร่อีกครั้งในช่วงปี 400
 

ในช่วงยุคกลาง



ยุคกลาง

ในช่วงแรกของยุคกลางนั้นเทศกาลคริสต์มาสถูกลดความสำคัญลงเนื่องจากวัน Epiphany เพราะชาวตะวันตกมุ่งความสนใจให้กับการเข้ามาของพวกมากิ (นักแสวงบุญ) แต่ในปฏิทินของยุคกลางกลับระบุถึงเทศกาลที่เกี่ยวกับวันคริสต์มาส สี่สิบวันก่อนถึงวันคริสต์มาสกลับกลายมาเป็น“สี่สิบวันของเซ็นต์มาร์ติน” (งานฉลองเซ็นต์มาร์ตินจะเริ่มจากวันที่ 11 พฤศจิกายน) ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ “Advent”

ในประเทศอิตาลี ประเพณีบูชาพระเจ้าในอดีตถูกรวมให้ปฏิบัติกิจกรรมในวัน “Advent” ด้วยเช่นกัน ราวศตวรรษที่ 12 ประเพณีนี้ถูกย้ายไปอยู่ใน “12 วันแห่งคริสต์มาส” (25 ธันวาคม – 5 มกราคม) ช่วงเวลาดังกล่าว ถูกระบุเอาไว้ในปฏิทินว่าเป็นช่วง "Christmastide" หรือสิบสองวันศักดิ์สิทธิ์


ความสำคัญของวันคริสต์มาสเพิ่มมากขึ้นเมื่อ Charlemagne ได้ครองตำแหน่งจักรพรรดิในวันคริสต์มาสในปี 800 ส่วนกษัตริย์ Edmund the Martyr ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันคริสต์มาสปี 855 และกษัตริย์วิลเลี่ยมที่ 1 แห่งอังกฤษได้รับตำแหน่งจักรพรรดิในวันคริสต์มาสปี 1066



คริสต์มาสกลายมาเป็นเทศกาลที่มีการเฉลิมฉลองเป็นประจำในยุครุ่งเรืองของสมัยกลางซึ่งมักมีบุคคลสำคัญฉลองเทศกาลนี้ โดยกษัตริย์ริชาร์ตที่ 2 แห่งอังกฤษได้จัดงานเลี้ยงคริสต์มาสในปี 1377ซึ่งในงานมีการกินเลี้ยงวัวยี่สิบแปดตัว และแกะอีกสามร้อยตัว

หมูป่าประจำวันคริสต์มาสถือเป็นสัญลักษณ์ของงานฉลองคริสต์มาสในยุคกลางการร้องประสานเสียงเริ่มได้ความนิยมมากขึ้น แล้วก็เป็นจุดเริ่มต้นของนักเต้นซึ่งสมาชิกก็มาจากกลุ่มนักร้องประสานเสียงนั่นเอง โดยวงจะประกอบไปด้วยนักร้องนำและมีนักเต้นซึ่งจะล้อมรอบนักร้องนำเป็นผู้ร้องประสานเสียงด้วย นักเขียนหลายคนในยุคนั้นวิจารณ์นักร้องประสานเสียงนั้นว่าเต็มไปด้วยตัณหา และชี้ให้เห็นว่า ประเพณีการบูชาเทพเจ้าที่ไร้วินัยแบบนี้จะยังคงเป็นอยู่แบบนี้ไปเรื่อย ๆการทำผิดกฎ ขี้เหล้าเมายา การผิดประเวณี และเล่นการพนัน กลายเป็นส่วนสำคัญของกิจกรรมงานฉลองในอังกฤษมีการแลกเปลี่ยนของขวัญในวันปีใหม่ ซึ่งก็มีการแลกเปลี่ยนเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สำหรับวันคริสต์มาสในวันนั้นด้วย


เทศกาลคริสต์มาสในช่วงยุคกลางเป็นเทศกาลระดับชาติที่รวมเอาไม้เลื้อย ต้นฮอลลีและพืชใบเขียวอื่นๆมาประดับตกแต่งตามสถานที่ต่างๆ แต่ว่าการแลกของขวัญคริสต์มาสในยุคกลางนั้นจะมีก็แต่เฉพาะกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กันทางกฎหมายเท่านั้น เช่น ผู้เช่ากับผู้ให้เช่า ในอังกฤษเริ่มมีการจัดงานเลี้ยง งานร้องรำทำเพลง เล่นกีฬา หรือเกมส์ไพ่มากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งศตวรรษที่ 17 เทศกาลคริสต์มาสก็เริ่มมีงานเลี้ยงที่หรูหรา ฟุ่มเฟือยและการประกวดหน้ากาก, ในปี 1607 กษัตริย์
เจมส์ที่ 1 ก็ยืนกรานให้มีการเล่นละครในคืนวันคริสต์มาส ซึ่งกระบวนการทางศาลก็ยอมผ่อนผันให้สามารถเล่นได้
 

การปฏิรูปสู่ศตวรรษที่ 19




 ในระหว่างการปฏิรูปของนิกายโปรแตสแต้นท์ กลุ่มคนที่เคร่งครัดในศีลธรรมได้วิจารณ์ว่าการฉลองเทศกาลคริสต์มาสของชาวคาทอลิกว่า เป็นเหมือน "คำสอนที่เป็นได้แค่เครื่องประกอบ" และ "ความเดือดดาลของสัตว์ร้าย" ดังนั้นโบสถ์นิกายโรมันคาทอลิกได้ส่งเสริมให้เทศกาลนี้น่าเลื่อมใสมากขึ้นโดยเน้นพิธีกรรมทางศาสนามากขึ้น จากนั้น กษัตริย์ชาลส์ที่ 1 ได้สั่งการให้เหล่าขุนนางและชนชั้นสูงกลับบ้านเกิดในช่วงกลางฤดูหนาวเพื่อคงไว้ซึ่งประเพณีดั้งเดิมของวันคริสต์มาส

 จากชัยชนะของฝ่ายรัฐสภาเหนือฝ่ายกษัตริย์ชาลส์ที่ 1 ในสงครามกลางเมืองในปี 1647ประมุขของกลุ่มผู้เคร่งครัดในศาสนาก็ได้ยกเลิกเทศกาลนี้ และสิ่งที่ตามมาก็คือเกิดก่อจลาจลจากผู้ต่อต้านในหลายเมือง และประมาณหนึ่งสัปดาห์ต่อมาเมืองแคนเทอบิวรี่ก็ตกอยู่ในความควบคุมของกลุ่มผู้ก่อการจลาจล ซึ่งพวกเขาได้ตกแต่งทางเข้าออกด้วยดอกฮอลลิ และคอยตะโกนกล่าวคำสรรเสริญกษัตริย์ของพวกเขายังมีข้อความในหนังสือ The Vindication of Christmas (London, 1652) ที่โต้แย้งกลุ่มผู้เคร่งครัดทางศาสนา และบันทึกประเพณีการฉลองคริสต์มาสแบบเก่าของอังกฤษซึ่งประกอบด้วย การทานอาหารค่ำ การปิ้งแอปเปิ้ล เล่นไพ่ การเต้นรำกับเด็กชายท้องนาและสาวรับใช้ และร่วมร้องเพลงประสานเสียง จนมาถึงปี 1660 ในยุคฟื้นฟูสมัยของกษัตริย์ชาลส์ที่ 2 การยกเลิกงานเทศกาลก็สิ้นสุดลง แต่พวกนักบวชก็ยังคงไม่ยอมรับการเฉลิมฉลอง ในประเทศสก็อตแลนด์ โบสถ์ของชาวโปรแตสแตนท์นั้นไม่เห็นด้วยการการเฉลิมฉลองนี้เหมือนกัน กษัตริย์เจมส์ที่หกได้สั่งให้มีการจัดงานฉลองคริสต์มาสต์แต่กลับมีผู้มาร่วมงานน้อย


รัฐปูริตานส์แห่งนิว อิงแลนด์ อาณานิคมของอเมริกา ได้ถูกพวกเคร่งศาสนานิกายโปรแตสแต้นท์ขัดขวางและต่อต้านงานเทศกาล แต่ในปี 1659 ถึง 1681 มีการฉลองอย่างผิดกฎหมายในเมืองบอสตันซึ่งต่อมาการขัดขางและต่อต้านนี้ ได้ถูกยกเลิกโดยผู้ว่าการชาวอังกฤษชื่อ Sir Edmund Andros ในปี 1681 อย่างไรก็ตามงานฉลองประเพณีคริสต์มาสก็ยังไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควรจนกระทั่งกลางปีที่ 1800 ความนิยมในเทศกาลนี้ถึงกระจายไปทั่วพื้นที่ของเมืองบอสตัน ในเวลาเดียวกัน ชาวคริสเตียนในเวอร์จีเนียและนิวยอร์กต่างได้รับอิสระในการฉลองประเพณีนี้ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวเยอรมันในเมืองเพนซิวาเนีย, ชาวโมราเวียนซึ่งมีอยู่น้อยมากในเมืองเบธเลเฮม, ชาวนาซาเรซ และลิทิซ ในเมืองเพนซิวาเนีย และ ชาววาโชเวียในนอร์ท คาโรไรน่าตื่นตัวมากที่จะได้ฉลองกับเทศกาลคริสต์มาส, ชาวโมราเวียนในเมืองเบธเลเฮมมีต้นคริสต์มาสต้นแรกของอเมริกาเช่นเดียวกับฉากการประสูติของพระเยซูก็เกิดขึ้นครั้งแรกที่นี่แต่หลังจากการปฏิวัติอเมริกา เทศกาลคริสต์มาสก็เริ่มเสื่อมความนิยมลงเมื่อทุกคนต่างลงความเห็นว่าคริสต์มาสเป็นเทศกาลของชาวอังกฤษ ปี 1777 จอร์จ วอชิงตันได้โจมตีกลุ่มพ่อค้าชาวเฮซเซียนในวันคริสต์มาสในสมรภูมิ the Battle of Trenton (ในช่วงเวลานี้เทศกาลคริสต์มาสเป็นที่นิยมในเยอรมันมากกว่าอเมริกา)



ราวช่วงทศวรรษที่ 1820 ความเข้มงวดของลัทธิต่าง ๆ ในสหราชอาณาจักรเริ่มเสื่อมลงนักเขียนทั้งหลายรวมถึงวิลเลียม วินสแตนลี เริ่มกังวลว่าคริสต์มาสจะสูญสลายไปพวกนักเขียนจินตนาการว่าเทศกาลคริสต์มาสคือเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง และได้พยายามกระทำวิธีการต่าง ๆเพื่อฟื้นฟูเทศกาลนี้ จนกระทั่งเมื่อนวนิยายเรื่อง A Christmas Carol ของ Charles Dickens ได้ถูกตีพิมพ์ในปี 1843 ซึ่งช่วยฟื้นฟูจิตวิญญาณแห่งวันคริสต์มาสและเทศกาลแห่งความรื่นเริงคริสต์มาสจึงเริ่มกลับมามีบทบาทสำคัญเพราะเป็นเทศกาลที่เน้นความสำคัญของครอบครัวความปราถนาดี และความเห็นอกเห็นใจ

มีการนำประโยคเด่นในนิยายของ Dicken ที่ว่า Bah! Humbug!' และ 'Merry Christmas' มาใช้ในภาษาอังกฤษ และในปี 1843 การ์ดอวยพรวันคริสต์มาสใบแรกก็ถูกผลิตขึ้นมาโดย เซอร์ เฮนรี่ โคลย์ เพลงประสานเสียงคริสต์มาสเริ่มถูกฟื้นฟูกลับมาโดย วิลเลียม บี แซนดี้ส์ จากบทความเรื่อง William B. Sandys Christmas Carols Ancient and Modern (1833) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกใน 'The First Noel', 'I Saw Three Ships', 'Hark the Herald Angels Sing' และ 'God Rest Ye Merry, Gentlemen' ที่โด่งดังในหนังสือ A Christmas Carol ของ Dickens และเพลงประสานเสียงอื่นๆของอังกฤษก็ได้รับความนิยมเช่น 'We Wish You A Merry Christmas' และ 'Oh Come All Ye Faithful'

การร้องเพลงประสานเสียงในโบสถ์ในคืนก่อนวันคริสต์มาสเริ่มมีมาตั้งแต่ ปี 1880 ในเมือง ทรูโร แคธีดรอล รัฐคอนวอล ประเทศอังกฤษ (คำกลอน และ เพลงร้องประสานเสียงอย่างละ 9 บท) ซึ่งปัจจุบันสามารถพบเห็นกิจกรรมดังกล่าวได้ในทุกโบสถ์ทั่วโลก
ในประเทศอังกฤษ ต้นคริสต์มาสได้ถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในตอนต้นปี 1800 ในช่วงที่ราชินี Charlotte of Mecklenburg-Strelitz ราชินีแห่งกษัตริย์จอร์จที่ 3 ไปเยือนที่เมืองฮันโนเวอร์เป็นการส่วนพระองค์แต่ประเพณีดังกล่าวกลับไม่ได้รับความนิยมจากเจ้าฟ้าในราชวงค์มากนัก หลังจากที่พระนางวิคตอเรียอภิเสกสมรสกับเจ้าชายอัลเบิร์ท พระญาติชาวเยอรมันของพระองค์ในปี 1841 ประเพณีการตกแต่งต้นคริสต์มาสก็ขยายวงกว้างออกไปทั่วประเทศ ภาพลักษณ์ของราชวงศ์อังกฤษกับต้นคริสต์มาสที่พระราชวังวินเซอร์เป็นภาพลักษณ์ที่ทรงอิทธิพลมาก ในช่วงแรกมีการตีพิมพ์ภาพเหมือนลงในหนังสือลอนดอน นิวส์ เมื่อเดือนธันวาคม ปี 1848 ต่อมาได้ถูกลอกเลียนแบบในประเทศสหรัฐอเมริกาในหนังสือ Godey's Lady's Book (มีภาพประกอบบทความด้านขวา) ในปี 1850
โดยเลียนแบบภาพเหมือนของประเทศอังกฤษทุกประการ เว้นแต่เอามงกุฎของราชินีและหนวดของเจ้าชายอัลเบิร์ทออก เพื่อใช้เป็นฉากในภาพยนต์เรื่องใหม่ของอเมริกาการเผยแพร่ภาพของ Godey ในปี 1850 เป็นภาพแรกที่มีการเอาต้นคริสต์มาสสีเขียวมาตกแต่งในอเมริกา

Karal Ann Marling นักประวัติศาสตร์ศิลป์เรียกเจ้าชายอัลเบิร์ทและราชินีวิคตอเรียว่าเป็นเหมือน "ผู้ที่มีอิทธิพลแรกของต้นคริสต์มาสในอเมริกา" นอกจากนี้ Alfred Lewis Shoemaker นักประวัติศาสตร์มนุษยวิทยาและวัฒนธรรม กล่าวไว้ว่า “เรื่องของการเผยแพร่และค่านิยมของต้นคริสต์มาสนั้น ในประวัติศาสตร์ของอเมริกาชน ไม่มีเหตุการณ์ใดสำคัญมากไปกว่าเหตุการณ์ การเผยแพร่ของ Godey's Lady's Book ในช่วงทษวรรษที่ 1850-1860 ซึ่งกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในประเพณีคริสต์มาสของชาวอเมริกา”



ในอเมริกานั้น ความสนใจในเทศกาลคริสต์มาสได้ถูกฟื้นฟูในช่วงปีที่ 1820 จากการที่มีเรื่องสั้นหลายเรื่องของ Washington Irving ถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือที่เขาเป็นเจ้าของชื่อ The Sketch Book of Geoffrey Crayon และ "Old Christmas" ซึ่งเขาได้ใช้เรื่องราวประเพณีพื้นบ้านของเทศกาลคริสต์มาสดั้งเดิมของชาวอังกฤษจากหนังสือเรื่อง Vindication of Christmas (1652) มาดัดแปลงและถ่ายทอดออกเป็นงานเขียนของเขาเอง


ปี 1822 Clement Clarke Moore ได้เขียนกลอนชื่อ การมาเยือนของเซ็นต์นิโคลัส (ซึ่งเป็นที่รู้จักดีจากข้อความในบันทัดแรกของบทกลอนที่ว่า Twas the Night Before Christmas) เรื่องสั้นของ Irving พรรณนาถึงเทศกาลและประเพณีที่แสดงออกถึงความสามัคคี และความมีจิตใจดีซึ่งเขาอ้างว่าสังเกตการณ์มาจากประเทศอังกฤษ แม้ว่าบางคนจะเถียงว่า Irving ได้อุปโลกน์ประเพณีที่เขาอธิบายถึงขึ้นมา แต่ผู้อ่านชาวอเมริกันก็เลียนแบบประเพณีนี้กันอย่างกว้างขวาง


บทกลอน การมาเยือนของเซ็นต์ นิโคลัส ทำให้ธรรมเนียมการแลกของขวัญได้รับความ
นิยมมากขึ้น ทำให้การค้าในช่วงคริสต์มาสเข้ามามีส่วนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจซึ่งนี่ก็เป็นที่มาของความขัดแย้งเรื่องภูตผี เพราะพ่อค้าบางคนเห็นว่าความเชื่อเรื่องนี้จะเป็นบ่อนทำลายความรื่นเริงของเทศกาล


ในหนังสือเรื่อง "คริสต์มาสแรกในนิวอิงแลนด์" ของ Harriet Beecher Stowe ที่ตีพิมพ์ในปี 1850 มีตัวละครหนึ่งที่บ่นว่าความหมายที่แท้จริงของวันคริสต์มาสได้เลือนหายไปในความรื่นเริงของการช้อปปิ้ง ในขณะที่การฉลองเทศกาลคริสต์มาสยังไม่ได้กลายมาเป็น
ธรรมเนียมในบางพื้นที่ของอเมริกา Henry Wadsworth Longfellow ตรวจพบว่า "มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับวันคริสต์มาสในนิวอิงแลนด์" และในปี 1856 เขาก็ออกมากล่าวอีกว่า "ความรู้สึกของพวกเคร่งศาสนาหัวโบราณเป็นตัวกันคริสต์มาสออกจากความสนุก ร่าเริงแม้ว่าทุกปีจะยิ่งทวีความรื่นเริงมากขึ้น"
หนังสือพิมพ์เพนซิลวาเนียได้เขียนไว้เมื่อปี 1861 ว่า "แม้เพื่อนชาวเพรซบิเทียเรียนของเราที่ไม่เคยให้ความสนใจในเทศกาลคริสต์มาส ก็ยังเปิดประตูโบสถ์ออก แล้วรวมตัวกันเพื่อเฉลิมฉลองในวันครบรอบวันประสูติของพระผู้เป็นเจ้า" โบสถ์แรกสุดที่มีการรวมตัวกันเพื่อเฉลิมฉลองกับเทศกาลนี้ ได้แก่ Church of Rockford ในรัฐอิลลินอยส์

‘แม้แต่พวกที่เคร่งศาสนาอย่างแท้จริง ก็ยังเตรียมตัวที่จะเฉลิมฉลองใหญ่ในงานครบรอบ 50 คริสต์มาส’ เป็นข่าวที่ถูกพาดหัวในปี 1864 และในปี 1860 รัฐถึง 14 รัฐได้รวมถึงพื้นที่ส่วนใหญ่ในนิวอิงค์แลนด์ ได้ลงมติให้วันคริสต์มาส เป็นวันหยุดราชการตามกฎหมาย ในปี 1870 มีการประกาศว่า วันคริสต์มาส คือวันหยุดของสหพันธรัฐอย่างเป็นทางการ ซึ่งลงนามโดยประธานาธิบดี Ulysses S. Grant และต่อมาในปี 1875 Louis Prang ได้ริเริ่มเผยแพร่การ์ดอวยพรวันคริสต์มาส
ให้ชาวอเมริกันได้รู้จัก ทำให้เขาได้รับฉายาว่า "บิดาแห่งการ์ดคริสต์มาสของอเมริกา"
 

กิจกรรมการเฉลิมฉลอง

 
.. กิจกรรมการเฉลิมฉลอง ..
Commemoration of Jesus' birth
พีธีฉลองเพื่อเป็นการระลึกถึง
การประสูติของพระเยซู
สำหรับชาวคริสต์ เทศกาลคริสต์มาสถือเป็นเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองวันประสูติของพระเยซูคริสต์ ชาวคริสต์เชื่อ ตามคำทำนายของพระเจ้าที่อยู่ในพระคัมภีร์เก่าแก่ซึ่งระบุไว้ว่าพระเจ้าถือกำเนิดจากพระแม่มารี เรื่องราวของเทศกาลคริสต์มาสก็มาจากบทบัญญัติในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล ในตอน Gospel of Matthew ที่มีชื่อว่า Matthew 1:18-Matthew 2:12 และในตอน the Gospel of Luke โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนที่ชื่อ Luke 1:26-Luke 2:40 ซึ่งระบุว่าพระเยซูกำเนิดจากพระแม่มารี ด้วยความช่วยเหลือของสามีนามว่าโจเซฟที่เมืองเบธเลเฮม ตามคำบอกเล่าแต่โบราณ ได้ระบุไว้ว่าพระองค์ประสูติในคอกม้าที่ล้อมรอบด้วยฟาร์มเลี้ยงสัตว์ แม้จะไม่มีการระบุเฉพาะถึงสัตว์ที่อยู่รอบๆในตอนที่พระองค์ประสูติในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล


แต่ในตอน Luke 2:7 มีการระบุว่า “พระแม่มารี เอาผ้าคลุมตัวพระเยซูและให้พระองค์นอนในรางหญ้าเพราะไม่มีห้องพักในโรงแรมให้ทั้งคู่พัก ต่อมา มีภาพบรรยายประกอบสถานที่ประสูติของพระเยซู ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่าอยู่ในรางหญ้าของคอกม้าซึ่งอยู่ในโพรง(สถานที่ตั้ง ตามคำบอกเล่านั้น คือใต้ถุนโบสถ์ Nativity เมืองเบธเลเฮม) เชฟเพิร์ดซึ่งเป็นชาวเมืองเบธเลเฮม ได้รับการแจ้งข่าวจากเหล่าเทพยาดาถึงการประสูติครั้งนี้และเขาเป็นคนแรกที่ได้เห็นพระเยซู ชาวคริสต์หลายคนเชื่อว่าการถือกำเนิดของพระเยซูนั้นเป็นไปตามคำทำนายของพระคัมภีร์เก่า

ชาวคริสต์มีวิธีการเฉลิมฉลองคริสต์มาสที่หลากหลาย ซึ่งในปัจจุบันนี้
นอกจากวันนี้จะเป็นหนึ่งในวันสำคัญแล้ว ยังเป็นวันหนึ่งที่คนนิยมไปโบสถ์เพื่อแสดงความศรัทธา และประกอบพิธีกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ก่อนหน้าวันคริสต์มาส โบสถ์ออโทด๊อกซ์ตะวันออกจะฝึกฝนตนเองเรียกว่า พิธีกรรม Nativity Fast (เป็นการฝึกฝนการบังคับใจตนเองและการสำนึกบาป)เพื่อรอคอยเวลาประสูติของพระเยซู ส่วนโบสถ์ชาวตะวันตก จะเฉลิมฉลองการปรากฎตัวของพระเยซูผู้คนจะตกแต่งบ้านเรือนและแลกเปลี่ยนของขวัญกัน และในศาสนาคริสต์บางนิกาย ก็จะมีเด็กๆ ทำการแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการประสูติของพระเยซูหรือร้องเพลงประสานเสียงกันบ้างก็จัดแสดงเรื่องราวการประสูติออกเป็นฉาก ๆ ในบ้านของพวกเขา โดยจะใช้พวกรูปปั้นแกะสลักมาแสดงเป็นบุคคลต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการแสดงละครโดยใช้นักแสดง สัตว์ หรือภาพวาดเพื่อความสมจริงมากขึ้น 



การสรรสร้างผลงานศิลปะที่บรรยายถึงฉากการประสูติของพระเยซูนี้
เป็นประเพณีที่ทำสืบต่อกันมายาวนานแล้ว โดยฉากนี้ได้ถูกจัดให้อยู่ในโรงนาหรือคอกม้า
ซึ่งมีพระแม่มารี โจเซฟ ทารกพระเยซู เทพยาดา เชฟเพิร์ด และนักบุญ 3 คน ชื่อว่า บาร์ทาซา เมลชิเออร์
และแคสปาร์ ซึ่งทั้ง 3 คนบอกว่า ได้เดินทางตามดวงดาวมา ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ ดาวแห่งเบธเลเฮม
จนกระทั่งได้มาพบกับการประสูตินี้

ในประเทศอเมริกา สิ่งของที่ใช้ประดับในเทศกาลคริสต์มาสบริเวณอาคารนั้น
โดยทั่วไปมักจะมีฉากเกี่ยวกับการประสูติของพระเยซูด้วย ซึ่งการกระทำในลักษณะนี้มัก
จะนำไปสู่การถูกฟ้องร้องดำเนินคดี โดยกลุ่ม American Civil Liberties Union ซึ่งเชื่อว่าการ
ใช้ของประดับตกแต่งที่เกี่ยวข้องกับทางศาสนา ต้องได้รับการอนุญาตอย่างเป็นทางการ
จากหน่วยงานราชการก่อน ซึ่งมีการบัญญัติข้อห้ามนี้ไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย ส่วนในปี 1984
ศาลสูงของอเมริกาตัดสินคดี Lynch vs. Donnelly เกี่ยวกับการโชว์เครื่องประดับประดาต่าง ๆ
ในเทศกาลคริสต์มาส ที่มีการรวมเอาฉากการประสูติของพระเยซูเข้าไปด้วย
ซึ่งงานแสดงได้ถูกจัดขึ้นที่เมือง Pawtucket, Rhode Island สำหรับคำตัดสินในครั้งนั้นนั้น
ระบุว่าไม่ได้เป็นการทำผิดต่อการแปรญัตติที่ได้ประกาศครั้งแรก
 

การประดับตกแต่ง

 

.. การประดับตกแต่ง ..

ธรรมเนียมปฏิบัติในการตกแต่งเครื่องประดับที่สวยงามในเทศกาลคริสต์มาสมีประวัติอันยาวนาน นับตั้งแต่ยุคก่อนคริสตศักราชจะเริ่มต้นขึ้น พืชใบเขียวถูกนำมาใช้ โดยจักรวรรดิโรมันอย่างต่อเนื่อง ธรรมเนียมปฏิบัตินี้ได้ถูกดัดแปลงให้เหมาะสมกับการใช้งานของชาวคริสเตียน ในศตวรรษที่ 15 ได้มีการบันทึกไว้ว่า ที่เมืองลอนดอนบ้านทุกหลังฏิบัติตามประเพณีของเทศกาล และทุก ๆ โบสถ์ของที่นี่ ก็ประดับประดาเต็มไปด้วยไม้ฮอลลี่ไอวี่ ต้นอบเชย และพืชในฤดูกาลที่เป็นสีเขียว รูปทรงหัวใจของใบไม้จากต้นไอวี่ถูกเรียกว่าเป็นสัญลักษณ์ของการมาเยือนโลกของพระเยซู ในขณะที่ต้นฮอลลี่ถูกมองว่าเป็นเครื่องรางป้องกันความชัวร้ายจากพวกนอกรีต และแม่มด, พืชมีหนามและผลไม้ลูกเล็ก ๆสีแดงถูกเปรียบว่าเป็นเสมือน Crown of Thorns ที่พระเยซูสวมใส่ ในขณะที่ถูกตรึงอยู่บนกางเขนจนตาย 

การแสดงเกี่ยวกับวันประสูติของพระเยซู เป็นที่รู้จักกันตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ของโรมและถูกทำให้เป็นที่นิยมมากขึ้นโดย Saint Francis of Asissi ในปี 1223 และแพร่หลายอย่างรวดเร็วไปยังดินแดนทวีปยุโรป เครื่องประดับในเทศกาลนี้หลายต่อหลายชิ้นได้ถูกวิวัฒนาการมาจากโลกของชาวคริสเตียน ซึ่งดำรงชีวิตอยู่กับวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น และทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ส่วนผลิตภัณฑ์เครื่องประดับชิ้นแรกที่ถูกใช้ในเชิงพาณิชย์นั้น เกิดขึ้นที่ประเทศเยอรมันในปี 1860 โดยผลิตภัณฑ์นั้นก็คือ โซ่กระดาษ ที่ออกแบบและทำขึ้นโดยกลุ่มเด็กเล็ก

ต้นคริสต์มาสนั้น มักจะถูกมองว่าเป็นประเพณีของพวกเพเกน เป็นพิธีกรรมที่โอบล้อมไปด้วยบรรยากาศช่วงฤดูหนาวที่มีช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุด ซึ่งจะตกแต่งสถานที่ด้วยกิ่งก้านของพืชสีเขียวทั้งนี้ก็เป็นการแสดงออกถึงความเคารพที่พวกเพเกนมีต่อต้นไม้

วลีภาษาอังกฤษที่ว่า "Christmas tree" ถูกบันทึกไว้ครั้งแรกในปี 1835 โดยระบุว่ามีรากฐานมาจากภาษาเยอรมัน เพราะธรรมเนียมของต้นคริสต์มาสสมัยใหม่นั้นเริ่มมีขึ้นที่ประเทศเยอรมันในช่วงศตวรรษที่ 18 แม้ว่าจะมีหลายคนโต้เถียงว่าเป็น มาร์ติน ลูเธอร์ที่ริเริ่มธรรมเนียมนี้ขึ้นมาในช่วงศตวรรษที่ 16 ก็ตาม

ธรรมเนียมนี้ถูกถ่ายทอดจากเยอรมันมาสู่อังกฤษผ่านทางพระราชินี ชาร์ลอตแห่งองค์กษัตริย์จอร์จที่สามซึ่งหลังจากนั้นความนิยมก็เพิ่มขึ้นตามลำดับโดยเจ้าชายอัลเบิร์ธระหว่างการครองราชย์ของราชินีวิคตอเรีย แล้วความนิยมในต้นคริสต์มาสก็เริ่มขยายวงกว้างไปทั่วอังกฤษในช่วงปี 1841 จนกระทั่งช่วงปี 1870 ต้นคริสต์มาสก็กลายมาเป็นธรรมเนียมสามัญของชาวอเมริกัน ซึ่งต้นคริสต์มาสอาจจะถูกประดับประดาด้วยดวงไฟสีสันต่าง ๆ และเครื่องประดับต่าง ๆ ด้วย


ต้นไม้พื้นเมืองแมกซิโก ชื่อต้น poinsettia เริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับวันคริสต์มาสตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 นอกจากนี้ยังมีต้นไม้อื่นๆอีกที่ได้รับความนิยมในช่วงคริสต์มาสซึ่งได้แก่ ฮอลลิ มิสเซิลโท แอมมะริลลิสสีแดง และตะบองเพชรคริสต์มาส ซึ่งนอกจากต้นคริสต์มาสแล้ว
ผู้คนก็นิยมนำไม้ประดับสวยงามที่กล่าวไว้ข้างต้นมาใช้ประดับบ้านเรือนควบคู่ไปกับ พวงดอกไม้ และพืชใบสวยงามชนิดอื่น ๆ ด้วย


มีธรรมเนียมในการตกแต่งรอบ ๆ นอกบ้านด้วยไฟและสิ่งของที่เป็นประกาย รถลากเลื่อนตุ๊กตาหิมะ และสิ่งของอื่น ๆ ที่ให้ความหมายถึงวันคริสต์มาส ในออสเตรเลีย อเมริกาเหนือและใต้เกาะอังกฤษ และชนกลุ่มน้อยแถบขอบทวีปยุโรป ในส่วนของทางการเองก็จะสนับสนุนการตกแต่งนี้เช่นกันด้วยการแขวนป้ายคริสต์มาสไว้บนไฟทางข้างถนน และมีการตั้งต้นคริสมต์มาสไว้ในใจกลางเมืองด้วย



ในประเทศโซนตะวันตก กระดาษม้วนสีสดใส ซึ่งมีทั้งแบบที่สื่อความหมายถึงประเพณีทางศาสนา และแบบที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาได้ถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้สำหรับห่อของขวัญ นอกจากนี้ ผู้คนได้รับอิทธิพลจากหมู่บ้านคริสต์มาส จนกลายมาเป็นประเพณีที่ยึดถือและปฏิบัติกันในหลาย ๆ ครอบครัว ส่วนเครื่องประดับตกแต่งสถานที่ที่กลายเป็นที่นิยมกันนั้น ได้แก่ ระฆัง กระดิ่ง เทียนไข ทอฟฟี่มีรูปร่างเป็นแท่งเป็นลายขาวแดง ถุงเท้ายาว พวงมาลัย และเทพยาดา



ฉากการประสูติของพระเยซูก็เป็นที่นิยมในหลายประเทศ โดยมีการจัดประกวดการสร้าง
ฉากดังกล่าวทั้งในแบบดั้งเดิม และแบบที่เหมือนจริง ซึ่งในบางครอบครัวก็ถือเอาชิ้นส่วนของฉาก
ดังกล่าวเป็นเหมือนมรดกอันล้ำค่าของครอบครัว

จะมีการประดับประดาด้วยบรรยากาศของวันคริสต์มาสถึง 12 คืน จนถึงค่ำของวันที่ 5 มกราคม
สีประจำของวันคริสต์มาสคือสนสีเขียว หิมะสีขาว และหัวใจสีแดง
 

Christmas cards

.. การ์ดอวยพรวันคริสต์มาส ..



ก่อนที่จะถึงวันคริสต์มาสในวันที่ 25 ธันวาคม ผู้คนส่วนใหญ่ทั้งชาวตะวันตกและชาวเอเชีย
(รวมถึงพวกที่ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์ด้วย) มักแลกเปลี่ยนการ์ดอวยพรซึ่งกันและกัน
ซึ่งบัตรอวยพรคริสต์มาสสำหรับจำหน่ายครั้งแรกนั้น ถูกผลิตขึ้นโดย Sir Henry Cole ในเมืองลอนดอน
ปี 1843 และมีข้อความอวยพรแบบดั้งเดิมคือ “wishing you a Merry Christmas and a Happy New Year"
(ขอให้คุณมีความสุขกับเทศกาลคริสต์มาสและสุขสันต์ในวันปีใหม่) รูปแบบของการ์ดอวยพรคริสต์มาสมีเพิ่ม
มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการ์ดบางอันก็จะแสดงออกถึงทัศนติความเชื่อทางศาสนา หรือรวมเอาบทกลอน
บทสวดหรือข้อความจากคำภีร์ไบเบิลเอาไว้ นอกจากนี้ ก็ยังมีการ์ดอวยพรที่ไม่เกี่ยวข้องกับทาง
ศาสนาโดยเป็นไปในรูปแบบ "เทศกาลส่งความสุข"
รูปแบบของการ์ดอวยพรคริสต์มาสนั้นจะออกแบบมาตามโอกาสพิเศษ และความต้องการซื้อ
การออกแบบนั้นอาจจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องเล่าของวันคริสต์มาส ซึ่งจะพรรณนาถึง
เหตุการณ์วันประสูติของพระเยซู หรือมีสัญลักษณ์ของชาวคริสเตียนอยู่ เช่น ดาวแห่งเบธเลเฮม
หรือ นกพิราบสีขาวที่สื่อถึง วิญญาณของพระเจ้าและสันติภาพ ส่วนการ์ดอวยพรคริสต์มาสที่ไม่เกี่ยว
ข้องกับทางศาสนาและแสดงถึงประเพณีของเทศกาลนี้ ซึ่งก็ได้แก่ ซานตาคลอส หรืออาจเป็นสิ่ง
ของที่เชื่อมโยงถึงเทศกาลนี้ ได้แก่ เทียนไข ต้นฮอลลี่ เครื่องประดับชิ้นเล็ก ๆ หรืออาจจะออก
แบบการ์ดเป็นภาพของงานกิจกรรมที่จัดขึ้นในวันคริสต์มาส ได้แก่ การช๊อปปิ้ง และการจัดงานปาร์ตี้
หรืออาจจะเป็นลักษณะของฤดูกาลนี้ ได้แก่ หิมะ และสัตว์ป่าที่อยู่ในเมืองหนาว การ์ดอวยพรบาง
ใบก็มีภาพวาดที่ทำให้คิดถึงความหลัง เช่น ภาพเหตุการณ์ที่ผู้คนกำลังเลือกซื้อของตามแนวลึกของ
ถนนในศตวรรษที่ 19 หรือจะออกแบบให้ดูตลกขบขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพล้อเลียนของ
ซานต้าและผู้ติดตามของเขา
 

แสตมป์คริสต์มาส

 
 หลายประเทศได้ออกแสตมป์ที่ระลึกในช่วงคริสต์มาส ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่มักจะใช้ แสตมป์ที่ระลึกนี้ ในการส่งบัตรอวยพรวันคริสต์มาส แล้วก็มีความนิยมในการสะสมแสตมป์ที่ระลึกนี้ด้วย แสตมป์เหล่านี้สามารถนำมาใช้ปกติได้ตลอดปีเฉกเช่นแสตมป์ทั่วไป ซึ่งไม่เหมือนกับการประทับตราคริสต์มาส ซึ่งแสตมป์ที่ระลึกนี้มักจะวางขายในช่วงระหว่างต้นเดือนตุลาคม ถึงต้นเดือนธันวาคม และจะพิมพ์จำหน่ายในปริมาณมาก


ปี 1898 แคนาดาได้ออกแสตมป์คริสต์มาสมาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการเปิดงาน 
Imperial Penny Postage โดยเป็นภาพของแผนที่โลกและมีตัวอักษรคำว่า "XMAS 1898" ระบุไว้ใต้ภาพ


ปี 1937 ออสเตรียออกแสตมป์คริสต์มาสมาสองรูปแบบ เป็นภาพกุหลาบและจักรราศรี

ปี 1939 บราซิลออกแสตมป์มาสี่แบบ เป็นภาพของพระราชาสามพระองค์กับดวงดาวแห่งเบธเลเฮม
เทพธิดากับบุตร ไม้กางเขนกับบุตร และแม่กับบุตร


ในแต่ละปีไปรษณีย์ของอเมริกาจะออกแบบแสตมป์ทั้งในรูปแบบที่อิงความเชื่อทางศาสนาและ 
ภาพงานเฉลิมฉลองของผู้คนในเทศกาลคริสต์มาส
 

ซานตาครอสและผู้มอบของขวัญคนอื่น ๆ

 

เป็นระยะเวลานานหลายศตวรรษแล้ว ที่เทศกาลคริสต์มาสเป็นช่วงเวลาแห่งการมอบของขวัญให้กันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมอบของขวัญให้เพื่อน ๆ และสมาชิกในครอบครัว ซึ่งจำนวนของชาวคริสเตียนและบุคคลที่เป็นตำนานได้ถูกสมมติขึ้นมาให้สอดคล้องกับเทศกาลและการมอบของขวัญ ซึ่งรู้จักกันทั่ว ๆ ไป ในชื่อของ “บิดาแห่งคริสต์มาส” ซึ่งรู้จักกันในอีกหลาย ๆ ชื่อได้แก่ ซานตาครอส, เซนท์ นิโคลัส, ซินเทอคลาส, คริสต์ไคน, คริส คลิงเกิ้ล, เปเระ โนเอล, จุลลูปุ๊กกี้, บับโบ้ นาตาเล่, เวียน นาซแมน, เซนต์ บาซิล, บิดาแห่งความเยือกเย็น)
.. ซานตาครอส ผู้มอบของขวัญคนอื่นๆ ..

 เป็นระยะเวลานานหลายศตวรรษแล้ว ที่เทศกาลคริสต์มาสเป็นช่วงเวลาแห่งการมอบของขวัญให้กันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมอบของขวัญให้เพื่อน ๆ และสมาชิกในครอบครัวซึ่งจำนวนของชาวคริสเตียนและบุคคลที่เป็นตำนานได้ถูกสมมติขึ้นมาให้สอดคล้องกับเทศกาลและการมอบของขวัญ ซึ่งรู้จักกันทั่ว ๆ ไป ในชื่อของ “บิดาแห่งคริสต์มาส”ซึ่งรู้จักกันในอีกหลาย ๆ ชื่อได้แก่ ซานตาครอส, เซนท์ นิโคลัส, ซินเทอคลาส, คริสต์ไคน, คริส คลิงเกิ้ล, เปเระ โนเอล, จุลลูปุ๊กกี้, บับโบ้ นาตาเล่, เวียน นาซแมน, เซนต์ บาซิล, บิดาแห่งความเยือกเย็น)


สิ่งที่บ่งบอกถึงงานวันเฉลิมฉลองคริสต์มาสที่ทั่วโลกรู้จักกันดี และมีชื่อเสียงมาก ได้แก่ ซานตาคลอสซึ่งเป็น ผู้มอบของขวัญที่ล่ำลือกันในตำนาน สวมใส่ชุดสีแดงโดยมีการโต้เถียงกันในเรื่องของที่มา บางกลุ่มอ้างว่าซานตาคลอสถูกเรียกผิดมาจาก Sinterklaas ของชาวดัตช์ ถ้ากล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ เซนต์ นิโคลัสนั่นเอง

นิโคลัส เคยดำรงตำแหน่ง บิชอปแห่งไมรา (ถ้าเป็นเวลาปัจจุบันก็คือ ประเทศตุรกี) ในปีคริตส์ศักราชที่ 4 ซึ่งนักบุญท่านอื่นอ้างว่า เขามีชื่อเสียงในเรื่องการดูแลเด็กเล็ก มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมอบของขวัญให้ผู้อื่นเสมอ ๆ งานเฉลิมฉลองของเขาในวันที่ 6 พฤศจิกายน กลายมาเป็นประเพณีการมอบของขวัญในหลายประเทศเซนต์ นิโคลัส มีลักษณะการแต่งตัวอยู่ในชุดของบาทหลวง และมีผู้ติดตามเป็นผู้ช่วยเหลือ และชอบที่จะสอบถามถึงความประพฤติของเด็ก ๆ ในช่วงปีที่ผ่านมาก่อนที่จะตัดสินใจว่าเด็กคนไหนสมควรที่จะได้รับของขวัญบ้าง


ในศตวรรษที่ 13 เซนต์ นิโคลัส เป็นที่รู้จักกันไปทั่วประเทศเนเธอร์แลนด์ และต่อมาชื่อเสียงก็กระจายไปทั่วพื้นที่ในตอนกลางและตอนใต้ของประเทศยุโรป และในช่วงที่มีการปฏิรูปกันนั้น ชาวคริสต์นิกายโปรแตสแต๊นท์ ได้เปลี่ยนชื่อเรียกไปเป็น Christ Child หรือ Christkindl (ส่วนในอังกฤษนั้น เสียงเพี้ยนไปเป็นคำว่า Kris Kringle) และวันที่มอบของขวัญให้กันนั้น ได้เปลี่ยนจากวันที่ 6 ธันวาคม มาเป็น วันคริสต์มาสอีฟ

ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เมืองนิวยอร์ค ภาพลักษณ์สมัยใหม่ของซานตาคลอสได้ถูกสรรค์สร้างขึ้นและเป็นที่นิยมชมชอบของผู้คนทั่วไปอย่างมาก ด้วยความร่วมมือกันของบุคคลที่มีชื่อเสียง 6 ท่าน รวมถึง วอชิงตัน เออร์วิ่ง (Washington Irving) และนักเขียนการ์ตูนชาวเยอรมัน-อเมริกัน ชื่อ โธมัส นาส Thomas Nast (1840–1902)

ซึ่งตามประวัติศาสตร์สงครามประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา ชนพื้นเมืองในเมืองนิวยอร์ค
ประชาชนในอาณานิคมของดัตช์ (นิว อัมสเตอร์ดัม) ได้ถูกชาวดัตช์ใช้อาณาเขตที่ตนครอบครอง
แลกเปลี่ยนกับเขตแดนอื่น ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้สร้างบิดาแห่งคริสต์มาสแบบใหม่ขึ้นมา
นั่นก็คือ เซนต์นิโคลัสซึ่งรู้จักกันในการเป็นสัญลักษณ์ของเมืองที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษในอดีต

ในปี 1809 นักประวัติศาสตร์-สังคมชาวนิวยอร์คมาชุมนุมกันและนึกถึงชื่อของ
Sancte Claus, นักบุญผู้เมตตาแห่ง Nieuw Amsterdam (ชื่อของเมืองนิวยอร์คในภาษาดัตช์)
ในช่วงแรกที่เปิดตัวในประเทศอเมริกา ในปี 1810 นั้น ซานตาคลอสแต่งตัวในชุดเสื้อคลุมของบิชอป
อย่างไรก็ตาม ภาพลักษณ์ใหม่ของซานตาคลอสได้ถูกสรรค์สร้างขึ้น โดยเฉพาะเรื่อง
เครื่องแต่งกายที่เน้นไม่ให้เกี่ยวข้องใด ๆ กับศาสนา และตั้งแต่ปี 1863 นาสก็เขียนภาพลักษณ์
ใหม่ให้กับซานตาคลอสทุกปี จนกระทั่งช่วงทศวรรษที่ 1880 ภาพซานตาตลอส ก็ออกมาใน
รูปแบบที่พวกเราจดจำกันในปัจจุบันนี้ (สวมเสื้อคลุมขนสัตว์) ซึ่งมีการโฆษณาภาพนี้ในช่วงทศวรรษที่ 1920

บิดาแห่งคริสต์มาสเป็นชายหนวดคลึ้ม ร่าเริงและเบิกบานเหมาะกับเทศกาลคริสต์มาส
รูปลักษณ์แรกๆของซานตาครอสถูกบันทึกไว้ครั้งแรกในต้นศตวรรษที่ 17
แต่กลายเป็นว่าเป็นวันหยุดเพื่อการเฉลิมฉลองและการดื่มเหล้าเมายา ในยุคอังกฤษวิคตอเรียนภาพ
ลักษณ์ของซานตาคลอสได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมกับซานต้ามากขึ้น

Père Noël ของฝรั่งเศษก็ปรับลายเส้นให้มีความคล้ายกับซานต้าต้นฉบับ จนในที่สุด
ก็ได้ภาพลักษณ์ของซานต้าออกมา

ในอิตาลี Babbo Natale แต่งกายเป็นซานตาคลอส ในขณะที่ La Befana เป็นผู้นำของขวัญมา
แจกจ่ายในคืนก่อนวัน Epiphany กล่าวกันว่า La Befana ตั้งใจจะเอาของขวัญไปแจกให้กับพระเยซูวัยเยาว์
แต่กลับหลงทาง ทุกวันนี้เธอจึงแจกของขวัญให้กับเด็กทุกคน

บางวัฒนธรรมก็กล่าวว่าซานตาคลอสจะมี Knecht Ruprecht หรือ Black Peter ติดตามมาด้วย
หรือบางทีก็บอกว่าพวกเอลส์เป็นคนผลิตของเล่น ส่วนภรรยาของเขาก็คือ คุณนายคลอส นั่นเอง

 
มีฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับประวัติการพัฒนาการของเซนต์นิโคลัสไปเป็นซานต้า ยุคใหม่
ซึ่งพวกเขาได้อ้างว่า เรื่องราวของเซนต์นิโคลัสนั้น ยังไม่ถูกค้นพบจนกระทั่งปี 1835 ซึ่งนับเป็นเวลา
เกือบครึ่งศตวรรษหลังจากที่สงครามประกาศอิสรภาพสิ้นสุดลง ยิ่งไปกว่านั้น แบบเรียน "children's books,
periodicals and journals" ของนิว อัมสเตอร์ดัมที่เขียนโดย Charles Jones ได้แสดงให้เห็นว่า
ไม่มีเอกสารอ้างอิงใด ๆ เลยที่ระบุถึง เซนต์ นิโคลัส หรือ Sinterklaas อย่างไรก็ดี ผู้ที่ทำการศึกษา
ไม่ได้คล้อยตามเกี่ยวกับสิ่งที่ Charles Jones ค้นพบทั้งหมด ซึ่งเขาได้นำผลงานไปกล่าวซ้ำอีกครั้ง
ในการศึกษาความกว้างของหนังสือในปี 1978

Howard G. Hageman จากสถาบันสอนศาสนศาสตร์ New Brunswick สนับสนุนความคิดเห็น
เกี่ยวกับประเพณีการเฉลิมฉลองของ Sinterklaas ในเมืองนิวยอร์ค ซึ่งยังคงปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นอย่างดีนั้น
มีที่มามาจาการก่อตั้งชุมชน Hudson Valley
ธรรมเนียมของบางประเทศแถบละตินอเมริกา (เช่น เวเนซุเอล่า และโคลัมเบีย) เชื่อว่าซานต้าจะ
เป็นผู้สร้างของเล่น และนำไปมอบให้แก่พระเยซูตัวน้อย แล้วพระองค์จะเป็นผู้นำไปส่งตามบ้านของเด็ก ๆ
ซึ่งเรื่องราวนี้เป็นเสมือนความสอดคล้องของความเชื่อทางศาสนาและทางโลก ซึ่งเรื่องราวของซานต้าคลอส
ส่วนใหญ่ที่เป็นที่จดจำนั้นได้แนวความคิดมาจากอเมริกา

ในประเทศอิตาลี สาธารณรัฐเช็ค เยอรมันตอนใต้ ฮังการี่ ลิชเธ่นสไตน์ สโลวาเกีย และสวิสเซอร์แลนด์
ก็มีตำนานของผู้ที่จะนำของขวัญมามอบให้ แต่จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ที่ประเทศเยอรมัน เซนต์นิโคลัส
ไม่ได้เป็นคน ๆ เดียวกับซานตาคลอส (Weihnachtsman = ซานตาคลอสของชาวเยอรมัน)
แต่เซนต์ นิโคลัสก็ใส่ชุดของบาทหลวงและมีของขวัญชิ้นเล็ก ๆ (ซึ่งส่วนใหญ่คือ ขนมหวาน ถั่วชนิดต่าง ๆ และผลไม้)
ติดมือมาเพื่อแจกในวันที่ 6 ธันวาคม ซึ่งเขาจะมาพร้อมกับผู้ช่วยของเขาที่ชื่อ Knecht Ruprecht

แม้ว่า โดยส่วนใหญ่ พ่อแม่มักจะสอนให้ลูก ๆ ให้รู้จักกับซานตาคลอส และ ผู้ที่จะนำของขวัญมามอบให้
แต่บางครอบครัวก็ไม่สนใจ เพราะมองว่าเป็นเรื่องไร้สาระ
 

การโต้เถียงและการวิจารณ์


 เกี่ยวกับประวัติของวันคริสต์มาสตั้งแต่ต้นจนจบนั้น มีการโต้เถียงและวิจารณ์กันในหลาย ๆ แง่มุมจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เอกสารอ้างอิงแรกที่โต้แย้งกันก็คือ “ศาสนาคริสต์เป็นผู้ริเริ่มเทศกาลนี้” ซึ่งจุดเริ่มต้นนั้นเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศอังกฤษไร้ผู้ปกครองประเทศ และถูกออกกฎเกณฑ์ต่าง ๆ โดย สภาของพวกที่เคร่งศาสนา ซึ่งพวกนี้ (รวมถึงพวกเคร่งศาสนาที่หนีไปที่ประเทศอเมริกาด้วย) พยายามค้นหาช่องทางที่จะกำจัดพวกนอกรีตของเทศกาลคริสต์มาสที่เหลืออยู่ไม่มากนัก ซึ่งในระหว่างนี้ สภาของอังกฤษได้ออกมาตรการห้ามงานเฉลิมฉลองทุกประเภทในเทศกาลคริสต์มาส ซึ่งนับว่าเป็นการเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ และเป็นพฤติกรรมที่ผิดทำนองคลองธรรม ซึ่งเมื่อพิจารณาให้ดีแล้ว จะเห็นว่า งานเทศกาลของชาวโรมันคาทอริกนั้น ไม่มีการกล่าวอ้างถึงพระคัมภีร์ไบเบิ้ลเลย


การโต้เถียงและวิพากษ์วิจารณ์ยังคงดำเนินต่อมาเรื่อย ๆ จนถึงยุคปัจจุบันนี้ ซึ่งทั้งกลุ่มชาวคริสเตียนและกลุ่มที่ไม่ใช่ต่างก็สบประมาทกันและกันเกี่ยวกับเรื่องเทศกาลคริสต์มาสนี้เรื่อยมา (ซึ่งถูกตั้งชื่อเล่นให้ว่า “สงครามเทศกาลคริสต์มาส” โดยบางกลุ่มคน) ส่วนนักวิจารณ์บางคนก็แสดงทัศนะว่า ข้อมูลจำเพาะในการอ้างอิงถึงเทศกาลคริสต์มาส หรือเกี่ยวกับมุมมองทางด้านศาสนา มักจะถูกควบคุมเนื้อหามากกว่าปกติ หรือถูกทำให้ห่างจากความเป็นจริง หรือถูกกีดกันโดยกลุ่มคนที่ทำการโฆษณา ผู้ขายปลีก ส่วนราชการ (โรงเรียนที่มีชื่อเสียง) สื่อสาธารณะอื่น ๆ และองค์กรที่หวังประโยชน์จากงานเฉลิมฉลองในศตวรรษที่ 21 นี้
 

เศรษฐกิจช่วงคริสต์มาส



วันคริสต์มาสเป็นเทศกาลที่สำคัญมากในการเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจในทุก ๆ ปีของหลายประเทศ ยอดจำหน่ายสินค้าของร้านค้าปลีกจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และร้านค้าเหล่านั้นก็จะออกสินค้าใหม่ ๆ มาในช่วงที่ผู้คนหาซื้อของขวัญ เครื่องประดับบ้านเรือนต่าง ๆ และอาหาร

ในอเมริกาจะจัด "เทศกาลซื้อของวันคริสต์มาส" ในวันแบล็คฟรายเดย์ (คือวันหลังจากวันขอบคุณพระเจ้า) อย่างไรก็ดี ร้านค้าส่วนใหญ่ในอเมริกาจะเริ่มขายของเกี่ยวกับวันคริสต์มาสตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม ในแคนาดา เหล่าพ่อค้าจะเริ่มโฆษณาสินค้าและกิจกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่ก่อนวันฮอลโลวีน (31 ตุลาคม) แล้วก็เริ่มทำการขายหลังจากวัน Remembrance Day ในวันที่ 11 พฤศจิกายน

กองการสำมะโนครัว ประเทศอเมริกา เปิดเผยตัวเลขการใช้จ่ายเงินในห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศ มีอัตราเพิ่มขึ้นจาก 20.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในเดือนพฤศจิกายน 2004 เป็น 31.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในเดือนธันวาคม ปีเดียวกัน เพิ่มขึ้นถึง 54 เปอร์เซ็นต์

ส่วนร้านที่ขายสินค้าอื่น ๆ นั้น ก่อนถึงเทศกาลคริสต์มาส มีอัตราการซื้อสูงขึ้นมากกว่าปกติค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในช่วงของเดือนพฤศจิกายน – เดือนธันวาคม ในร้านขายหนังสือ มีอัตราการซื้อเติบโตขึ้น 100 % ส่วนร้านเพชรพลอยนั้น มีอัตราการซื้อเติบโตขึ้น 170 % ในปีเดียวกันนี้ การจ้างงานของร้านขายปลีกได้เพิ่มขึ้นจาก 1.6 ล้าน เป็น 1.8 ล้าน ภายในระยะเวลา 2 เดือนก่อนถึงคริสต์มาส อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ก็เน้นไปที่การผลิตสินค้าที่เกี่ยวกับเทศกาลนี้ ซึ่งรวมถึง การ์ดอวยพรวันคริสต์มาส ซึ่งจากตัวเลขประมาณการ การ์ดอวยพรวันคริสต์มาสถูกส่งให้กันในอเมริกาต่อปี มีจำนวนสูงถึง 1.9 พันล้านใบ และต้นสนที่นำมาใช้เป็นต้นคริสต์มาสถูกตัดในเทศกาลนี้สูงถึง 2.8 ล้านต้นในปี 2002


แต่ในหลายพื้นที่ วันคริสต์มาสก็เป็นช่วงที่เงียบเหงาที่สุดในรอบปีของธุรกิจการค้าประเภทอื่น ซึ่งส่วนใหญ่จะปิดให้บริการในช่วงนี้กัน ซึ่งรวมถึงธุรกิจทางด้านอุตสาหกรรมด้วย ในประเทศอังกฤษและเวลส์ มีกฎหมายการค้าปี 2004 ระบุไว้ว่า ห้ามห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่เปิดทำการในวันคริสต์มาส ซึ่งประเทศสก็อตแลนด์ก็กำลังวางแผนที่จะออกกฎเกณฑ์คล้าย ๆ กันนี้ ส่วนทางด้านภาพยนต์ ก็จะมีการฉายภาพยนตร์ที่ใช้ต้นทุนในการสร้างสูงในช่วงวันหยุดของเทศกาล รวมถึงภาพยนตร์เกี่ยวกับวันคริสต์มาส ภาพยนตร์แฟนตาซี หรือละครชีวิตที่ดีเยี่ยมโดยใช้ทีมงานคุณภาพในการผลิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น









ตรวจสอบเบอร์มือถือ