มา ๆๆๆ เรามาคุยกันเพื่อนๆทั้งหลาย

คุยกับเพื่อนทั่วๆไป

คุยกับเืพื่นที่เรียนด้วยกันวันอาทิตย์


Get kikrakdeaw chat group | Goto kikrakdeaw website

Get your own Chat Box! Go Large!

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เรื่องราวการลอยกระทง



วันลอยกระทง (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12) (Loi Krathong Festival)





ประวัติการลอยกระทง


     ลอยกระทง หมายถึง ประเพณีบูชารอยพระพุทธบาท แสดงความ สำนึกบุญคุณของแหล่งน้ำอันมี


ความสำคัญต่อการดำรงชีวิ ตและเป็นการ การบูชาพระแม่คงคาเทวีตามความเชื่อแต่โบราณด้วยกระทง 


ดอกไม้ธูป เทียน ประกอบกับสิ่งประดิษฐ์จากธรรมชาติที่ลอยน้ำได้ วันลอยกระทงตรงกับวันขึ้น 15 คำ 


เดือน 12 ประเพณีลอยกระทงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยประมาณ 700 ปีมาแล้ว ประเพณีลอยกระทงได้เข้า


สู่ประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. 1800 ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศ

 ผู้เป็นพระสนมเอกของพระร่วงเจ้าว่า "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้


งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่างๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับ


แสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..." เมื่อสมเด็จ


พระร่วงเจ้าได้เสด็จฯทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงมีพระ


ราชโองการฯให้จัดพิธีลอยกระทงเป็นประจำทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองพระราชพิธีนี้จึงได้ถือปฏิบัติ


เป็นประจำจนกระทั่งบัดนี้ 


     การลอยกระทงเป็นนักขัตฤกษ์รื่นเริงของคนทั่วไป เมื่อเป็นพิธีหลวง เรียกว่า " พระราชพิธีจองเปรียง 


ลดชุดลอยโคมส่งน้ำ" ต่อมาเรียก "ลอยพระประทีป" พิธีนี้มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยดัง ปรากฏหลักฐานอยู่


ใน หนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้กล่าวว่า นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกใน


พระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์กระทงสำหรับลอยประทีปเป็นรูปดอกบัวบานขึ้น และได้


กระทำต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาตลอดจนถึงสมัยกร ุงรัตนโกสินทร์ พิธีลอยกระทงเดิมทำกันในวันเพ็ญ


เดือน11 และวันเพ็ญเดือน12 ปัจจุบันพิธีลอยกระทงเฉพาะวันเพ็ญเดือน12 พิธีลอยกระทง สันนิษฐานว่า


ได้มาจากอินเดีย ตามลักธิพราหมณ์เชื่อว่า ลอยกระทงเพื่อบูชาแม่น้ำคงคง อันศักค์สิทธิ์ของอินเดีย 


และลอยเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้า คือ พระนารายณ์ ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่กลางเกษียรสมุทร 

     อีกประการหนึ่ง ศาสนาพุทธเชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการทำพิธีเพื่อต้อน รับพระพุทธเจ้าในวันเสด็จ


จากเทวโลกสู่โลกมนุษย์ ภายหลังจากทรงเทศนาโปรด พุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บ้างก็เชื่อว่า


เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ที่บรรจุไว้ในพระจุฬามณี พระเจดีย์บนสวรรค์ บางก็ว่าเพื่อบูชารอย


พระพุทธบาทที่ทรงประทับไว้ ณ หาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำนัมมหานทีในแคว้นทักขิณาบถ ของประเทศ


อินเดีย (ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุททา) บางท่านก็ว่า ลอยกระทงเพื่อขอบคุณพระแม่คงคาที่ให้เราได้


อาศัยน้ำก ินน้ำใช้ และขออภัยพระแม่คงคา ที่ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงในน้ำ เมื่อถึงวันเพ็ญ เดือน 12 


ประชาชนจะจัดทำกระทงเป็นรูปต่าง ๆด้วยใบตอง หรือกาบใบต้นพลับพลึง หรือวัสดุอื่น ๆ ประดับตกแต่ง


กระทงให้สวยงามด้วยดอกไม้สดในกระทงจะปักธูปเทียน บางทีก็ใส่สตางค์ หรือหมากพลูลงไปด้วยสมัย


ก่อนในพิธีลอยกระทงมีการเล่น สักวาเล่นเพลงเรือและมีแสดง มหรสพประกอบงานมีการประกวด นาง


นพมาศ ประกวด กระทงและร่วมกันลอยกระทง โดยจุดธูปเทียน กล่าวอธิษฐานตามที่ใจปรารถนาและ


ปล่อยกระทงให้ลอยไปตามน้ำ 

                    การ ลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือ


ลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์


สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือ


ลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็น


แม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท อันที่จริงลอย


กระทงเป็นประเพณีขอขมาธรรมชาติมาแต่ดึกดำบรรพ์ เพราะชาวบ้านทั่วไปรู้จากประสบการณ์ว่า ถึง


เดือนสิบเอ็ด (หรือราวเดือนตุลาคม) น้ำจะขึ้นนองหลาก,พอถึงเดือนสิบสอง (หรือราวเดือนพฤศจิกายน) 


น้ำจะทรงตัวคือไม่ขึ้นไม่ลง,ครั้นเดือนอ้าย (หรือราวเดือนธันวาคม) ต่อเดือนยี่ (หรือราวเดือนมกราคม) 


น้ำจะลดลง

คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป

มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมะทายะ


นะทิยา ปุเลเนฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ

อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ ปูชา


อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังฆวัตตะตุ


กิจกรรมวันลอยกระทง


นำกระทงไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง หรือตามแหล่งน้ำที่มีการจัดพิธี


ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ในวันลอยกระทง เช่น การประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ การละเล่น

พื้นเมือง  เช่น รำวงเพลงเรือ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทย


จัดนิทรรศการ หรือพิธีลอยกระทง เพื่อเผยแพร่และอนุรักษ์ประเพณีไทย


จัดรณรงค์ให้มีการใช้วัสดุจากธรรมชาติมาทำกระทง เพื่อไม่ให้เกิดมลภาวะแก่แม่น้ำลำคลอง

เหตุผลในการลอยกระทง

เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทและบูชาเทพเจ้า ตามคติความเชื่อ


เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้ มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา


เพื่อรู้ถึงคุณค่าของน้ำหรือแม่น้ำลำคลอง อันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต


การลอยกระทงในปัจจุบัน


                    การ ลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญ


พระจันทร์เต็มดวงในเดือน 1 2 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวก


กล้วย และดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้ เครื่องสักการบูชา ก่อน


ทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวังพร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคา ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัด


งานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจาก


นั้นยังมีการจุดดอกไม้ ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้ทำกระทง 


ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ

การลอยกระทงของชาวเหนือและอีสาน

การลอยกระทงของชาวเหนือ (ยี่เป็ง)


การลอยกระทงของชาวเหนือ นิยมทำกันในเดือนยี่เป็ง (คือเดือนยี่หรือเดือนสอง เพราะนับวันเร็วกว่า

ของเรา 2 เดือน) เพื่อบูชาพระอุปคุตต์ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเล ลึกหรือ


สะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า




การลอยกระทงในภาคอีสาน เรียกว่าเทศกาลไหลเรือไฟ


จัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ในจังหวัดนครพนม โดยการนำหยวกกล้วยหรือวัสดุต่าง ๆ มาตกแต่งเป็นรูป


พญานาคและรูปอื่น ๆ ตอนกลางคืนจุดไฟปล่อยให้ไหลไปตามลำน้ำโขงดูสวยงามตระการตา




เล่ากันว่า นางนพมาศ เป็นต้นกำเนิดประเพณีลอยกระทงที่เราปฏิบัติสืบต่อกันมา แต่ดูเหมือนว่าข้อ

เท็จจริงทางวิชาการไม่ได้ยืนยันเรื่องนี้ ..


   นางนพมาศมีตัวจริงหรือไม่มี ก็หาคนยืนยันไม่ได้เสียแล้ว ในจารึกก็ไม่ได้ใส่ไว้ แต่มีหนังสืออยู่เล่ม


หนึ่ง ที่เล่าเรื่องนางนพมาศ เป็นที่อ้างอิงกันทั่วไป นั่นก็คือ หนังสือเรื่อง นางนพมาศ หรือเรียกอีกชื่อว่า 


ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์  โดยทั่วไปแล้ว เชื่อกันว่าเป็นเรื่องที่แต่งมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่เพิ่งได้ตีพิมพ์


เป็นเล่มเมื่อ พ.ศ. 2457 

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงไว้เมื่อตีพิมพ์ครั้งแรก มาให้อ่าน สั้นๆ ไม่


กี่หน้า แต่มีคุณค่ามาก อย่าพลิกข้ามไปเป็นอันขาด

   ท่านกล่าวว่า ในเรื่องโวหารนั้น หนังสือเล่มนี้สังเกตได้ ว่าแต่งในราวรัชกาลที่ 2 ? รัชกาลที่ 3 เพราะถ้า


เทียบสำนวนกับหนังสือรุ่นสุโขทัย อย่างไตรภูมิพระร่วง หรือหนังสือรุ่นอยุธยา ก็เห็นชัด ว่าหนังสือนาง


นพมาศใหม่กว่าแน่ๆ และยังมีที่จับผิดในส่วนของเนื้อหา ที่กล่าวถึงชาติฝรั่งต่างๆ โดยเฉพาะอเมริกัน ซึ่ง


เพิ่งเกิดแท้ๆ

   สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ได้กราบทูลรัชกาลที่ 5 ว่าหนังสือที่ปรากฏนี้คงไม่ได้เก่าขนาดสุโขทัยแน่ๆ 


รัชกาลที่ 5 ท่านก็เห็นอย่างนั้น แต่มีนักปราชญ์รุ่นก่อนๆ อย่างรัชกาลที่ 4 หรือ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท 


เชื่อว่าน่าจะมีตัวฉบับเดิมที่เก่าแก่ แต่ต้นฉบับอาจชำรุดขาดไป มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์จึงมีการแก้ไขเพิ่ม


เติมให้สมบูรณ์เท่าที่จะทำได้ และเล่าสืบกันมาว่าในครั้งรัชกาลที่ 3 ได้ทรงพระราชนิพนธ์แทรกไว้ตอน


หนึ่ง คือ ตอนที่ว่าด้วย ?พระศรีมโหสถลองปัญญานางนพมาศ? จนจบ ?นางเรวดีให้โอวาทของ


นพมาศ? ซึ่งกินเนื้อที่ ราว 1 ใน 3 ของเรื่อง

   สรุปความว่า หนังสือเล่มนี้หลายท่านเชื่อว่าน่าจะมีต้นฉบับเดิมมาตั้งแต่สมัยโบราณ แม้รัชกาลที่ 5 ได้


ทรงพระราชนิพนธ์ พระราชพิธีสิบสองเดือน ก็อ้างถึง หนังสือเรื่องนางนพมาศเอาไว้หลายครั้ง สำหรับ


ตัวหนังสือที่ตกมาในปัจจุบันเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม ทำให้ภาษาสำนวนใหม่ขึ้นมาก 

ทำไมจึงเชื่อว่า นางนพมาศเป็นหนังสือเก่า

   สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ท่านเห็นว่าหนังสือนี้น่าจะมีเค้าเดิมมาแต่เก่าก่อน เพราะในหนังสือเล่าพิธี


พราหมณ์เอาไว้ (ราว 1 ใน 3 ของเรื่อง) ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามธรรมเนียมเก่า โดยขนบแล้วพิธี


พราหมณ์นั้นมีตำราจดบันทึกรักษาไว้อย่างดี คนทั่วไปไม่ใคร่จะรู้ หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องพิธีพราหมณ์ได้


ละเอียดก็หมายความว่าไม่ธรรมดา 

เนื้อหา

   มาดูเนื้อหากันบ้าง ใครถาม ก็พอจะได้โม้ให้เขาฟังได้ ว่าตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เขาเล่าอะไรเอาไว้ ยิ้มเท่ห์

   เริ่มต้นว่าด้วยกำเนิดมนุษย์ ชาติภาษา พร้อมแนะนำตัวผู้เขียน ?ข้าน้อยผู้ได้นามบัญญัติชื่อว่า 


รีจุฬาลักษณ์? เล่าถึงกำเนิดอาณาจักรและ จากนั้นก็สรรเสริญพระเกียรติสมเด็จพระร่วงเจ้า เล่าถึง


ผู้คน ชาติตระกูลในสุโขทัย และมาถึงประวัติส่วนตัวของนางนพมาศ


   พระมโหสถ พราหมณ์ บิดาของนางนพมาศได้เล่านิทานสอนใจแก่นางสามสี่เรื่อง จากนั้นนางเรวดี 


มารดา ให้โอวาทสอนมารยาท แล้วนำไปถวายตัวพระร่วงเจ้า

   ช่วงต่อมานางนพมาศเล่าถึงพิธีพราหมณ์ทั้งสิ้น 12 พิธี เริ่มตั้งแต่เดือน 12 พิธีจองเปรียง (เดือนอ้าย 


เดือนยี่ จนถึงเดือนสิบเอ็ด พิธีอาชยุศ ปิดท้ายด้วยหัวข้อ ?ว่าด้วยความประพฤติแห่งนางสนม? เรื่อง


กิริยามารยาทต่างๆ

   เรื่องลอยกระทงกล่าวไว้ในพิธีแรก (คือเดือนสิบสองไทย) เรียกว่า พิธีจองเปรียง ?วันเพ็ญเดือน 12 


เป็นนักขัตฤกษ์ชักโคมลอยโคม? ผู้คนพากันแต่งโคมชักโคมแขวนโคมลอยทั่วพระนคร ทำโคมตกแต่ง


ลวดลาย มาชักมาแขวนเรียงรายตามแนวโคมชัยเสาระหงหน้าพระที่นั่ง มีมหรสพด้วย นางนพมาศทำ


โคมลอยเป็นรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) จุดประทีปเปรียง (คือ ใส่น้ำมันไขข้อโค) มีจุดดอกไม้ไฟ จุด


พะเนียงพลุสว่างไสวไปหมด ในหนังสือเล่าต่อว่า ?อันว่าโคมลอยรูปดอกกระมุทก็ปรากฏมาจนเท่า


ทุกวันนี้ แต่คำโลกสมมุติเปลี่ยนชื่อเรียกว่าลอยกระทงทรงประทีป? 

   สำหรับในพิธีจองเปรียงนี้ ได้กล่าวถึงโคมลอยโคมชัก โคมปักโคมห้อย (เช่นเดียวกับพระราชพิธีจอง


เปรียง ในหนังสือ พระราชพิธีสิบสองเดือน) เพื่อให้พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสักการะพระมหาเกตุธาตุจุฬามณี


ในชั้นดาวดึงส์ และพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเรือพระที่นั่งไปถวายดอกไม้เพลิงตามพระอารามหลวงริมฝั่งแม่น้ำ


ทั่วพระนคร 
  
วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง เราทั้งหลายชายหญิง สนุกกันจริง วันลอยกระทง ลอย ลอยกระทง 

ลอย ลอยกระทง อะแฮ่มๆ แหม...ใกล้จะถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 หรือเรียกง่ายๆ ว่า เทศกาลสำคัญหนึ่ง


ของคนไทยแล้ว มันก็ต้องคึกคักกันหน่อย (จริงป่ะ) แต่นอกจากการลอยกระทงเพื่อขอขมาพระแม่คงคา


แล้ว ยังมีการเล่นดอกไม้ไฟ พลุ หรือการแสดงต่างๆ อีกมากมาย ที่สำคัญยังมีการประกวดสาวงามหรือ 


"วันลอยกระทง""ประกวดนางนพมาศ" อีกด้วย อะๆ หลายคนอาจสงสัยว่านางนพมาศคือใคร มีที่ไปที่มา


อย่างไร แล้วทำไมต้องเรียว่านางนพมาศ เอาเป็นว่าเราไปความรู้จักกับ "ประวัตินางนพมาศ" กันดีกว่า


ค่ะ... 


          นางนพมาศ หรือ เรวดี นพมาศ เกิดในรัชกาลพญาเลอไท กษัตริย์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พระร่วง บิดา


เป็นพราหมณ์ชื่อ โชติรัตน์ มีราชทินนามว่า พระศรีมโหสถ รับราชการในตำแหน่งปุโรหิต  มารดาชื่อ เรวดี 


ภายหลังนางนพมาศได้ถวายตัวเข้าทำราชการในราชสำนักสมเด็จพระร่วงเจ้า สันนิษฐานว่ารับราชการ


ในแผ่นดินพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) จนกระทั่งได้รับตำแหน่ง "ท้าวศรีจุฬาลักษณ์" พระสนมเอก 


          นางนพมาศได้ทำคุณงามความดีเป็นที่โปรดปรานของพระร่วงในกาลต่อมา  ที่สำคัญๆ มีอยู่ 3 ครั้ง

          ครั้งที่ 1 เข้าไปถวายตัวอยู่ในวังได้ห้าวัน ก็ถึงพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป (ลอยกระทง) 


นางได้คิดประดิษฐ์โคมลอยรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) มีนกเกาะดอกไม้สีสวยๆ ต่างๆ กัน เป็นที่โปรดปราน


ของพระร่วงมาก

          ครั้งที่ 2 ในเดือนห้ามีพิธีคเชนทร์ศวสนาน เป็นพิธีชุมนุมข้าราชการทุกหัวเมือง มีเจ้าประเทศราช


ขึ้นเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการด้วย ในพิธีนี้พระเจ้าแผ่นดินทรงรับแขกด้วยเครื่องหมากพลู  นาง


นพมาศได้คิดประดิษฐ์พานหมากสองชั้นร้อยกรองด้วยดอกไม้งดงาม พระร่วงทรงโปรดปรานและรับสั่ง


ว่า ต่อไปผู้ใดจะทำการมงคลก็ดี รับแขกก็ดี  ให้ใช้พานหมากรูปดังนางนพมาศประดิษฐ์ขึ้น ซี่งเป็นต้น


เหตุของพานขันหมากเวลาแต่งงาน ซึ่งยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน

          ครั้งที่ 3 นางได้ประดิษฐ์พนมดอกไม้ถวายพระร่วงเจ้าเพื่อใช้บูชาพระรัตนตรัย พระร่วงทรงพอ


พระทัยในความคิดนั้น ตรัสว่าแต่นี้ต่อไปเวลามีพิธีเข้าพรรษาจะต้องบูชาด้วยพนมดอกไม้กอบัวนี้

          นางนพมาศเป็นบุคคลที่ฉลาดถ่อมตัวเป็นอย่างยิ่ง จนได้สมญาว่า "กวีหญิงคนแรกของไทย" ดัง


เช่นที่เขียนไว้ว่า "ทั้งเป็นสตรี สติปัญญาก็น้อยกว่าบุรุษ แล้วก็ยังอ่อนหย่อนอายุ กำลังจะรักรูปและแต่ง


กาย ซึ่งอุตสาหะพากเพียร กล่าวเป็นทำเนียบไว้ ทั้งนี้เพื่อหวังจะให้สตรีอันมีประเภทเสมอด้วยตน พึงให้


ทราบว่าข้าน้อยนพมาศ กระทำราชกิจในสมเด็จพระร่วยงเจ้ากรุงมหานครสุโขทัย ตั้งจิตคิดสิ่งซึ่งเป็นการ


ควรกับเหตุ ถูกต้องพระราชอัชฌาสัยพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ปรากฎชื่อแสียงว่าเป็นสตรีนักปราชญ์ ฉลาดใน


วิชาช่างอยู่ชั่วกัลปาวสาน " 




          นี่คือนางนพมาศ สนมเอกของสมเด็จพระร่วงเจ้า ผู้สามารถประดิษฐ์ความคิดได้เป็นที่น่า

อัศจรรย์ จนสืบกลายมาเป็นประเพณีต่อมาอยู่ช้านาน ทั้งๆ ที่นักประวัติศาสตร์หลายท่านสงสัย


ว่าจะมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ 







ลอยกระทง ที่ไหนดี?


          ใกล้ วันลอยกระทง เข้ามาทุกที วันนี้เรามี เกร็ดความรู้ บทความ ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว มา

แนะนำเพื่อนๆ กันด้วย เผื่อว่าบางคนยังคิดไม่ออกว่า วันลอยกระทง ปีนี้จะไป ลอยกระทง ที่ไหนดี ว้าว... 


ว่าแล้วก็ไปดู เกร็ดความรู้ บทความ ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว วันลอยกระทง เจ๋งๆ กันเลยดีกว่า 


          การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดงานลอยกระทงทั่วไทย 6 


ที่ทั่วประเทศ 


          1.ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จ.สุโขทัย จัดระหว่าง   จัดที่อุทยานประวัติศาสตร์


สุโขทัย มีขบวนแห่โคมชักโคมแขวน มีกิจกรรม เช่น ขบวนอัญเชิญพระประทีป และกระทงพระราชทาน 


กิจกรรมรับรุ่งอรุณแห่งความสุข การประกวดโคมชัก-โคมแขวน การแสดงแสงสีเสียงเรื่องราว


ประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุโขทัย กิจกรรมการเผาเทียน เล่นไฟ หรือดอกไม้ไฟนานาชนิดหลายรูปแบบ 


พ่อค้าแม่ค้าในงานจะแต่งกายด้วยชุดแบบสุโขทัยโบราณ ผู้เข้าร่วมงานหาซื้อบัตรเข้าชมการแสดงแสง


สีเสียงเรื่องราวประวัติศาสตร์สุโขทัยได้ที่ โทร.0-5561-1619 และ 0-5561-4304

          2.ประเพณียี่เป็ง จ.เชียงใหม่    ข่วงประตูท่าแพ ริมฝั่งแม่น้ำปิง หน้าเทศบาลนครเชียงใหม่ ใน


งานมีขบวนแห่โคมไฟ ขบวนประกวดกระทง การประกวดเทพียี่เป็ง การแสดงแสง-เสียงกลางลำน้ำปิง 


กิจกรรมลอยกระทงย้อนเวลาหาวิถีล้านนาไทย การแสดงศิลปะพื้นบ้านและการจำหน่ายสินค้าหัตถกรรม


พื้นบ้านแบบล้านนา

          3.ประเพณีลอยกระทงตามประทีป ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ    ชมการแสดงการจำลอง


ประเพณีการลอยกระทงตามประทีปของกษัตริย์ไทยสมัยกรุงศรี อยุธยาตอนปลาย พร้อมทั้งพิธีอาบเพ็ญ 


และการประกวดไหลเรือไฟ มีการประกวดนางนพมาศชิงถ้วยพระราชทานฯ มีการแสดงศิลปวัฒนธรรม


ไทยพื้นบ้าน เลือกซื้อและชมสินค้าจากศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ 


          4.ประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าสี่มุมเมือง จ.พระนครศรีอยุธยา 

        5.ประเพณีลอยกระทงสาย ไหลประทีปพันดวง ชิงถ้วยพระราชทานฯ จ.ตาก  ที่ริมสายธาร

ลานกระทงสาย เชิงสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จ.ตาก กิจกรรมในงานมีการประกวดกระทง


สายชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การจัดลอยพระประทีปของพระบรมวงศานุวงศ์ 


การจัดขบวนแห่กระทงพระราชทาน และพระประทีปพระราชทาน การจัดตกแต่งประดับไฟบริเวณงาน 


การจัดแสดงแสง เสียง พลุ และดอกไม้ไฟ การจัดแสดงม่านน้ำ ชุด ตำนานกระทงสาย การจัดลอย


กระทงที่ยาวที่สุด การแสดงทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง และการจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบล


หนึ่งผลิตภัณฑ์



          6.งานมหกรรมโคมไฟเฉลิม พระเกียรติฯ สีสันเมืองใต้ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จั ที่สวน

สาธารณะบึงศรีภูวนารถ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

          ส่วนที่อื่นมีอย่าง เทศบาลนครภูเก็ต จัดงานประเพณีลอยกระทง  ที่บริเวณเวทีกลางสะพานหิน วัน


ที่ 22 ช่วงค่ำมีการประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง และการแสดงของนักเรียน วันที่ 23 พฤศจิกายน ช่วงเช้ามีการ


แข่งขันวาดภาพ ส่วนช่วงค่ำมีการประกวดหนูน้อยนพมาศและการแสดงของนักเรียนบนเวที

          วันที่ 24 พฤศจิกายน ช่วงเช้ามีการประกวดเย็บใบตองสดและการจัดสวนถาด ส่วนช่วงค่ำระหว่าง


เวลา 18.30 - 20.00 น. มีการแห่ขบวนกระทงจากเทศบาลนครภูเก็ตไปยังเวทีกลางสะพานหิน มีด้วยกัน 


9 ขบวน คือ ขบวนชาติ, ขบวนศาสนา, ขบวนพระมหากษัตริย์, ขบวนพราหมณ์, ขบวนบูชาพระแม่คงคา, 


ขบวนตามรอยนางนพมาศ, ขบวนวัฒนธรรม, ขบวนแห่กระทง และขบวนยุคปัจจุบัน ส่วนตั้งแต่ 20.00 


น.เป็นต้นไป มีพิธีลอยกระทง และมีการจุดพลุเฉลิมพระเกียรติจำนวน 9 ชุด

          เชียงราย-มีงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ลุ่มน้ำโขง และลอยกระทง 4 ชาติ

          ที่บริเวณสนาม รด. อ.เมือง (เชิงสะพานแม่ฟ้าหลวง) จ.เชียงราย ในงานมีขบวนแห่กระทงประดิษฐ์ 


ร่วมลอยกระทง 4 ชาติ และการแสดงจากประเทศไทย ลาว จีน พม่า ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่เทศบาล


นครเชียงราย โทร.0-5371-1333 ต่อ 304-5

          พะเยา-มีงานยี่เป็งลอยโคม และงานสืบสาน ตำนานไทลื้อ  ที่บริเวณริมกว๊านพะเยา อ.เมือง 


จ.พะเยา ในงานมีการแข่งขันเรือ 22 ฝีพาย ขบวนแห่กระทง การปล่อมโคมลอย และการแสดงทาง


วัฒนธรรม ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่ปกครองจังหวัดพะเยา โทร.0-5444-9627-32 





          บุรีรัมย์-ประเพณีลอยกระทง "สีสันละลม อารยธรรมแห่งสายน้ำ" 

          ที่คลองละลม ศาลเจ้าแม่บัวลอย อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ มีพิธีบวงสรวงเจ้าแม่บัวลอย การแข่งขันเรือ


เข็มขนาด 7 ฝีพาย และกีฬาพื้นบ้าน การประกวดขบวนแห่ ประกวดกระทงใหญ่ กระทงเล็ก ประกวดนาง


นพมาศ การจุดพลุ ตะไล การแสดงคอนเสิร์ต ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ โทร.0-


4460-2345 ต่อ 612-3


          สุรินทร์ -สืบสานงานประเพณีลอยกระทง    ที่เวทีไผทสราญ สระน้ำวัดจุมพล สุทธาวาส มีการ


ประกวดนางนพมาศช้าง การแสดงศิลปะพื้นบ้าน การแข่งขันกีทางน้ำ การจุดพลุ ตะไล ไฟพะเนียง

           นครศรีธรรมราช-งานประเพณีลอยกระทง    สวนสาธารณะศรีธรรมาโศกราช อ.เมือง 


จ.นครศรีธรรมราช มีการประกวดนางนพมาศ การประกวดกระทงใหญ่ ประเภทสวยงาม การประกวด


ประดิษฐ์กระทง และการแสดงทางวัฒนธรรม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น









ตรวจสอบเบอร์มือถือ